1) หาดหิน (rocky shore) หาดหินเป็นระบบนิเวศในทะเลแห่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอาศัยอยู่
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตหน้าดิน (macrobenthic organisms) ที่มีทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค จนถึงผู้ย่อยสลาย
ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อมต่างๆในทางกายภาพเช่น
ความรุนแรงของคลื่นที่เข้ามากระทำในพื้นที่ ระดับน้ำขึ้นน้ำลง
และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในรอบวัน รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ
เช่นกระบวนการลงเกาะของตัวอ่อนเพื่อเติบโตเป็นประชากรในรุ่นต่อไป (settlement
and recruitment processes) การแก่งแย่งแข่งขันเพื่อใช้พื้นที่ในการดำรงชีวิต
(space competition) การเป็นผู้ล่าและผู้ถูกล่า (predation)
มีอิทธิพลสำคัญต่อรูปแบบและลักษณะการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหน้าดินในหาดหิน
ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้โครงสร้างชุมชนของสิ่งมีชีวิตหน้าดินในหาดหินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาทั้งในมิติของพื้นที่และเวลา
เนื่องจากปัจจัยทางกายภาพที่สำคัญในบริเวณนี้คือ การพัดของคลื่นที่มากระทบหาด ทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ต้องมีการปรับตัวโดยการยึดเกาะกับหินให้มั่นคงโดยการหลั่งสารประกอบหินปูนยึดตัวเองกับหิน
เช่นเพรียงหิน และหอยนางรมเป็นต้น ในหอยแมลงภู่จะใช้หนวด(byssus thread) หอยบางชนิดจะมีเปลือกหนาเพื่อต้านทางแรงคลื่น
รวมทั้งมีฝาที่ปิดสนิทและมีความแข็งแรงเพื่อป้องกันการสัมผัสกับอากาศในช่วงน้ำลง
มีเปลือกสีเข้มหรือจางเพื่อลดการดูดกลืนของแสงซึ่งจะแตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่
กลุ่มที่อยู่ในเขตใกล้แนวน้ำขึ้นสูงสุด (upper intertidal) จะมีสีเปลือกที่จางกว่าพวกที่อยู่ในเขตต่ำลงมา
(lower intertidal) ส่วนปัจจัยทางชีวภาพที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้คือผู้ล่า
และการแก่งแย่งแข่งขัน ทั้งในแง่ของอาหารและที่อยู่อาศัย
การแพร่กระจายของสัตว์ทะเลบริเวณหาดหิน จะมีการแพร่กระจายตามแนวดิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่จมอยู่ใต้น้ำ การกินอาหาร ความทนทานต่อการสูญเสียน้ำออกจากตัว และอุณหภูมิ โดยในเขตบนสุดของการแพร่กระจายจะพบแมลงสาบทะเล (Ligia sp.) ปูแสม ปูหิน หอยมะระ หอยฝาชี หอยขี้นก เพรียงหิน พวกนี้จะอยู่ตอนบนของโขดหิน ในเขตถัดมาซึ่งเป็นเขตที่มีน้ำท่วมถึงจะพบพวก ลิ่นทะเล หอยหมวกเจ๊ก ฟองน้ำ หอยนางรม ดอกไม้ทะเล ส่วนเขตถัดมาซึ่งเป็นเขตที่มีน้ำท่วมถึงตอดเวลาจะพบ ปะการัง เม่นทะเล หนอนฉัตร ดาวทะเล ปู กุ้ง หอย
การแพร่กระจายของสัตว์ทะเลบริเวณหาดหิน จะมีการแพร่กระจายตามแนวดิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่จมอยู่ใต้น้ำ การกินอาหาร ความทนทานต่อการสูญเสียน้ำออกจากตัว และอุณหภูมิ โดยในเขตบนสุดของการแพร่กระจายจะพบแมลงสาบทะเล (Ligia sp.) ปูแสม ปูหิน หอยมะระ หอยฝาชี หอยขี้นก เพรียงหิน พวกนี้จะอยู่ตอนบนของโขดหิน ในเขตถัดมาซึ่งเป็นเขตที่มีน้ำท่วมถึงจะพบพวก ลิ่นทะเล หอยหมวกเจ๊ก ฟองน้ำ หอยนางรม ดอกไม้ทะเล ส่วนเขตถัดมาซึ่งเป็นเขตที่มีน้ำท่วมถึงตอดเวลาจะพบ ปะการัง เม่นทะเล หนอนฉัตร ดาวทะเล ปู กุ้ง หอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น