บทที่ 3 พื้นท้องมหาสมุทร

บทที่ 3 พื้นท้องมหาสมุทร
Chapter 3 : Marine province and ocean bottom
 หัวข้อภายในบทเรียน

2.       เขตชายฝั่งทะเล (coastal zone)
ส่วนนำ

การกระจายของพื้นน้ำและพื้นดินตลอดจนความสูงต่ำของพื้นทวีปและมหาสมุทร เป็นลักษณะพื้นฐานทั่วไปของผิวเปลือกโลก การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของพื้นท้องมหาสมุทร มีความสำคัญอย่างมากในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร การทับถมและการกระจายของตะกอนบริเวณพื้นท้องมหาสมุทร ผลจากการศึกษาพื้นของมหาสมุทรในปัจจุบันทำให้มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเดิมที่ว่าพื้นมหาสมุทรมีลักษณะราบเรียบ โดยพบว่าลักษณะของพื้นมหาสมุทรคล้ายกับลักษณะทางภูมิศาสตร์บนพื้นทวีปซึ่งจะมีภูเขา หุบเขา ที่ราบและหน้าผา ตลอดจนภูเขาไฟที่คุกรุ่นและดับแล้วเป็นจำนวนมาก

ในสมัยก่อนคนทั่วไปเชื่อกันว่าพื้นท้องมหาสมุทรมีลักษณะคล้ายอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ เมื่อพ้นจากทวีปไปแล้วก็จะลาดชันลงไปยังพื้นท้องมหาสมุทร และส่วนที่ลึกที่สุดจะอยู่บริเวณกลางมหาสมุทร จนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 18 นักธรณีวิทยาค้นพบว่ากลางมหาสมุทรแอตแลนติกมีความลึกไม่มากนัก ซึ่งตรงข้ามกับข้อสัณนิษฐานข้างต้น และในปี ค.ศ. 1870 ซึ่งเรือสำรวจ HMS Challenger ได้ทำการสำรวจพื้นท้องมหาสมุทรโดยใช้วิธีการหยั่งความลึกพื้นท้องทะเลจำนวน 492 จุดทั่วโลก ได้พบว่ามีแนวเทือกเขาใต้น้ำกลางมหาสมุทรแอตแลนติก และใน ทศวรรษที่ 1920 ได้มีการนำเทคนิค echo sounder มาใช้ทำให้พบว่าเทือกเขานี้มีลักษณะเป็นสันด้านบน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์