4.5 ภูเขาไฟใต้น้ำ (Seamount)

4.5 ภูเขาไฟใต้น้ำ (Seamount)
ภูเขาไฟใต้น้ำ (Seamount) อาจอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มบนพื้นมหาสมุทร ส่วนที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากพื้นมหาสมุทร ภูเขาไฟใต้น้ำมีสัณฐานค่อนข้างกลมมน หากยอดเรียบจะเรียกว่าเนินเขามหาสมุทร (abyssal) ภูเขาไฟใต้น้ำที่อยู่เป็นกลุ่มอาจเป็นฐานของแนวสันเขาใต้น้ำก็ได้ บางครั้งอาจเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ บางแห่งอาจโผล่ขึ้นมาเหนือผิวหน้าน้ำกลายเป็นเกาะภูเขาไฟในมหาสมุทรได้เช่นหมู่เกาะฮาวายเป็นต้น ภูเขาไฟที่โผล่พ้นผิวน้ำบางแห่งเมื่อเกิดระเบิดขึ้นยอดของมันจะหายไปลดความสูงลงจนถึงผิวหน้าน้ำจาก การกระทำของกระแสน้ำ คลื่นและลม ต่อมาอาจจะมีการจมตัวลงจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้กลายเป็นภูเขาที่มียอดแบนราบใต้น้ำ ภูเขาลักษณะดังกล่าวเรียกว่า กีโยต์ (guyot) หรือ Tablemount (ภาพที่ 3.6) ส่วนใหญ่จะอยู่ต่ำกว่าผิวหน้าน้ำประมาณ 1,200-1,600 เมตร และพบมากในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ในบริเวณมหาสมุทรในเขตร้อนเช่นในบริเวณเส้นศูนย์สูตรที่มีอุณหภูมิผิวหน้าน้ำไม่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส เกาะภูเขาไฟบริเวณนี้จะมีปะการังเกิดขึ้นโดยรอบ เมื่อภูเขาไฟระเบิด หรือจมตัวลงหรือระดับน้ำสูงขึ้น ปะการังจะเติบโตตามแนวดิ่งสูงขึ้นตามระดับน้ำในขณะที่เกาะ ระยะต่อไปเมื่อเกาะจมตัวลงพื้นที่ภายใน แนวปะการังที่ล้อมรอบจะมีลักษณะคล้ายทะเลสาบเรียกว่า (Lagoon) แนวปะการังลักษณะดังกล่าว เรียกว่า atoll

ภาพที่ 3.6 ภูเขาไฟใต้น้ำ

ที่มา: Garrison (2007)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์