4.3 หุบเหวลึกในมหาสมุทร (Trench)

4.3 หุบเหวลึกในมหาสมุทร (Trench)
หุบเหวลึกในมหาสมุทร (Trench) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหุบลึกลงไปในมหาสมุทร มีหน้าตัดเป็นรูปตัว V มักเกิดขึ้นตามขอบของแอ่งมหาสมุทร โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของมหาสมุทร แปซิฟิก และตามแนวของหมู่เกาะที่ยาวต่อเนื่องกัน (ภาพที่ 3.5) เชื่อว่าเหวในมหาสมุทรเกิดจากการจมตัวลงของเปลือกโลกที่เป็นพื้นมหาสมุทร บริเวณนี้ถือว่าเป็น divergent plate boundary ซึ่งพื้นมหาสมุทรจะถูกทำลาย ความลึกโดยเฉลี่ยของเหวในมหาสมุทรประมาณ 8,000 เมตร จุดที่ลึกที่สุดอยู่ใน มหาสมุทรแปซิฟิกเรียกว่า Mariana’s Trench ลึกประมาณ 11,000 เมตร เหวในมหาสมุทรได้รับการสนใจ ในการศึกษาเกี่ยวกับการสะสมตัวของตะกอนและกระแสน้ำที่ไหลเวียนในบริเวณเหวเพื่อประโยชน์ในการทิ้งกากกัมมันตภาพรังสี เช่น Cayman Trench เป็นต้น หุบเหวที่สำคัญในมหาสมุทรต่าง ๆ มีดังนี้
  • มหาสมุทรแอตแลนติค
    Peru-Chili Trench 8,400 m
    Aleutian Trench 8,100 m
    Kuril-Kamchatka Trench 10,500 m
  • มหาสมุทรแปซิฟิก
    Japan Trench 9,800 m
    Mariana’s Trench 11,000 m
    Philippines Trench 10,000 m
    Kermadec-Tonga Trench 10,800 m
  • มหาสมุทรอินเดีย
    Java Trench 7,400 m

ภาพที่ 3.5 หุบเหวลึกในมหาสมุทร
ที่มา: Garrison (2007)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์