1. วิธีการวัดความลึกของพื้นมหาสมุทร
การวัดความลึกของพื้นมหาสมุทร จำแนกเป็น 3 วิธี คือ
1. การใช้สายหยั่งความลึก เป็นวิธีการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกโดยการวัดความลึก
เป็นจุด ๆ วิธีการนี้จะใช้ได้ดี กับบริเวณที่มีความลึกไม่มากนัก
รวมทั้งขณะทำการวัดกระแสน้ำและกระแสลม ต้องไม่รุนแรง
2. การใช้เสียงสะท้อน (echo sounder) เทคนิคนี้ได้เริ่มนำมาใช้ก่อนและระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อค้นหาวัตถุที่อยู่ใต้น้ำ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำให้สามารถวัดความลึกได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ซึ่งทำโดยส่งคลื่นเสียงจากเรือ คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านมวลน้ำชั้นต่างๆจนถึงพื้นมหาสมุทร และเมื่อคลื่นเสียงสะท้อนกลับมาที่เครื่องตรวจรับบริเวณท้องเรือ จะนำเวลาที่ใช้ไปในการเดินทางของเสียงมาคำนวณหาความลึกบริเวณนั้นได้ หากเราทราบความยาวของคลื่นเสียงและความเร็วเสียงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลาง (ภาพที่ 3.1) แม้ว่าวิธีการนี้จะสะดวกกว่าวิธีการในข้อแรกแต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการวัดในกรณีที่มีคลื่นแรง ซึ่งจะทำให้เรือเคลื่อนที่ขึ้นลง ค่าที่วัดได้อาจมีความผิดพลาด นอกจากนี้ความแตกต่างกันในคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำทะเลเช่น อุณหภูมิ, ความเค็ม และความดันของชั้นน้ำต่าง ๆ ก็จะมีผลต่อความเร็วของเสียงในมหาสมุทร ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องทราบถึง ลักษณะการกระจายของมวลน้ำในมหาสมุทรด้วย ในทางปฏิบัติจะต้องใช้ค่าแก้ (correction) ซึ่งได้จากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ มวลน้ำในบริเวณที่ทำการวัดความลึกมาปรับแก้กับค่าที่วัดได้เพื่อให้การคำนวณความลึกถูกต้องมากยิ่งขึ้น
2. การใช้เสียงสะท้อน (echo sounder) เทคนิคนี้ได้เริ่มนำมาใช้ก่อนและระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อค้นหาวัตถุที่อยู่ใต้น้ำ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำให้สามารถวัดความลึกได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ซึ่งทำโดยส่งคลื่นเสียงจากเรือ คลื่นเสียงจะเดินทางผ่านมวลน้ำชั้นต่างๆจนถึงพื้นมหาสมุทร และเมื่อคลื่นเสียงสะท้อนกลับมาที่เครื่องตรวจรับบริเวณท้องเรือ จะนำเวลาที่ใช้ไปในการเดินทางของเสียงมาคำนวณหาความลึกบริเวณนั้นได้ หากเราทราบความยาวของคลื่นเสียงและความเร็วเสียงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลาง (ภาพที่ 3.1) แม้ว่าวิธีการนี้จะสะดวกกว่าวิธีการในข้อแรกแต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการวัดในกรณีที่มีคลื่นแรง ซึ่งจะทำให้เรือเคลื่อนที่ขึ้นลง ค่าที่วัดได้อาจมีความผิดพลาด นอกจากนี้ความแตกต่างกันในคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำทะเลเช่น อุณหภูมิ, ความเค็ม และความดันของชั้นน้ำต่าง ๆ ก็จะมีผลต่อความเร็วของเสียงในมหาสมุทร ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องทราบถึง ลักษณะการกระจายของมวลน้ำในมหาสมุทรด้วย ในทางปฏิบัติจะต้องใช้ค่าแก้ (correction) ซึ่งได้จากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ มวลน้ำในบริเวณที่ทำการวัดความลึกมาปรับแก้กับค่าที่วัดได้เพื่อให้การคำนวณความลึกถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ภาพที่ 3.1 การวัดความลึกของพื้นท้องทะเลโดยวิธีการใช้เสียงสะท้อน
(echo sounder)
ที่มา: Garrison (2007)
3. การใช้คลื่นสั่นสะเทือน (seismic wave) เป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนโดยใช้คลื่นสั่นสะเทือนซึ่งเกิดจากแรงอัดหรือแรงดันเป็นแหล่งกำเนิดเพื่อหาความลึก
ผลที่ได้นอกจาก จะทราบถึงความลึกของน้ำในบริเวณที่วัดแล้วยังสามารถทราบถึงความหนา
ชนิดและการเรียงตัว
ตลอดจนส่วนประกอบของหินและตะกอนของพื้นมหาสมุทรบริเวณนั้นได้อีกด้วย
วิธีการจะทำโดย การจุดระเบิดบริเวณที่ทำการวัดเพื่อให้คลื่นสั่นสะเทือนกระจายออกไป
จนถึงพื้นมหาสมุทร และใต้พื้นมหาสมุทรลงไป แล้ววัดคลื่นสะท้อนที่กลับมา
ข้อมูลที่ได้คือเวลาที่ใช้ใน การเดินทางตั้งแต่เริ่มจุดระเบิดจนถึงกลับมา
เครื่องรับจะแปลผลออกมาเป็นระดับความลึกใน บริเวณที่ต้องการวัดได้ (ภาพที่ 3.2)
ภาพที่ 3.2 การวัดความลึกของพื้นท้องทะเลโดยวิธีการใช้คลื่นสั่นสะเทือน
(seismic wave)
ที่มา: Garrison (2007)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น