1. แรงที่ก่อให้เกิดกระแสน้ำในมหาสมุทร
กระแสน้ำในมหาสมุทรเกิดจากแรง 2 ชนิดด้วยกันคือ primary force เป็นแรงที่ทำให้น้ำเคลื่อนตัว และ secondary force ซึ่งเป็นแรงที่กำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำ ตัวอย่างของ primary force ได้แก่ความเครียดของลมที่พัดผ่านบริเวณผิวหน้าน้ำ, การขยายตัวและการหดตัวของมวลน้ำอันเนื่องมาจากอุณหภูมิ, ความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นระหว่างชั้นน้ำ ส่วนตัวอย่างของ secondary force ได้แก่ Coriolis effect, แรงโน้มถ่วงของโลก แรงเสียดทาน และรูปร่างของแอ่งมหาสมุทร
ประมาณร้อยละ 10 ของการเคลื่อนตัวของน้ำในมหาสมุทรเป็นกระแสน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำ (surface current) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำในแนวราบ เกิดจากการขยายตัวของน้ำอันเนื่องมาจากอุณหภูมิ และความเสียดทานอันเนื่องมาจากลม (wind friction) กระแสน้ำที่เกิดขั้นบริเวณผิวหน้าน้ำส่วนใหญ่จะอยู่เหนือ pycnocline ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของน้ำทะเลอย่างรวดเร็วตามระดับความลึก น้ำที่อยู่ถัดจากชั้น pycnocline นี้ก็จะมีการไหลเวียนเช่นกันแต่จะมีการเคลื่อนตัวที่ช้ากว่า แรงที่ก่อให้เกิดการไหลเวียนจะมาจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่มีต่อมวลน้ำข้างเคียงซึ่งมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน และยังมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิและความเค็ม ซึ่งการไหลเวียนซึ่งเกิดจากปัจจัยดังกล่าวจะเรียกว่า thermohaline circulation
ประมาณร้อยละ 10 ของการเคลื่อนตัวของน้ำในมหาสมุทรเป็นกระแสน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำ (surface current) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำในแนวราบ เกิดจากการขยายตัวของน้ำอันเนื่องมาจากอุณหภูมิ และความเสียดทานอันเนื่องมาจากลม (wind friction) กระแสน้ำที่เกิดขั้นบริเวณผิวหน้าน้ำส่วนใหญ่จะอยู่เหนือ pycnocline ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของน้ำทะเลอย่างรวดเร็วตามระดับความลึก น้ำที่อยู่ถัดจากชั้น pycnocline นี้ก็จะมีการไหลเวียนเช่นกันแต่จะมีการเคลื่อนตัวที่ช้ากว่า แรงที่ก่อให้เกิดการไหลเวียนจะมาจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่มีต่อมวลน้ำข้างเคียงซึ่งมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน และยังมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิและความเค็ม ซึ่งการไหลเวียนซึ่งเกิดจากปัจจัยดังกล่าวจะเรียกว่า thermohaline circulation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น