1.2 The Origin of the Sun
ในส่วนของการเกิดดวงอาทิตย์ภายหลังการระเบิดครั้งใหญ่
นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันยอมรับในทฤษฎี Gravitational collapse
theory หรือบางครั้งเรียกกันว่าnebula theory หรือ dust-cloud theory ซึ่งตามทฤษฎีดังกล่าวดาวฤกษ์ต่าง ๆ
รวมทั้งดวงอาทิตย์
จะก่อตัวในแบบเดียวกันและบางครั้งดาวเคราะห์ก็จะเกิดจากการสร้างตัวของดาวฤกษ์ด้วยเช่นกัน
ในระหว่างดาวฤกษ์ต่างๆประมาณร้อยละ 99 จะประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม
เรียกว่า nebulae (ภาษาละตินหมายถึงเมฆหรือหมอก) ต่อมา nebulae
นี้เกิดการรวมตัวกันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วง
ซึ่งจะมากกว่ามวลของดวงอาทิตย์ปัจจุบันเล็กน้อย (ประมาณ 2x1027ตัน) เมื่อกลุ่มก๊าซรวมตัวกันมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น อัตราการหมุนของกลุ่มก๊าซดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นด้วยทำให้กลุ่มก๊าซมีรูปทรงแบนเรียบและส่วนใหญ่จะรวมกันที่จุดศูนย์กลาง
ซึ่งกลายเป็นดวงอาทิตย์ในเวลาต่อมา
ส่วนที่เหลือของกลุ่มก๊าซจะมีลักษณะเหมือนจานทรงกลมหมุนรอบจุดศูนย์กลาง
และเกิดการรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ ดวงอาทิตย์ในระยะเริ่มก่อกำเนิดนั้นเรียกว่า protosunจะมีอุณหภูมิสูงมากถึงหลายล้านเคลวิน
ความดันมหาศาลที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์เกิดจากการชนกันของอนุภาคหรือ nuclear fusion ที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมากนั้นจะก่อให้เกิดพลังงานอย่างเพียงพอที่จะรักษาอุณหภูมิและความดันไว้ให้คงที่
ทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดคงที่มาจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลาที่ใช้เริ่มจาก nebulae
จนถึงเป็นดวงอาทิตย์นั้นใช้เวลาถึง 4.6 พันล้านปี
เหตุที่นักดาราศาสตร์สามารถทราบถึงอายุของการกำเนิดสุริยจักรวาลได้เนื่องจากมีหลักฐานของสะเก็ดของดาวหางที่ตกลงมาสู่โลกบางชิ้นมีอายุระหว่าง
4.5-4.6 พันล้านปี
และชิ้นส่วนของหินจากดวงจันทร์ที่นำกลับมาสู่โลกจากการเดินทางไปดวงจันทร์เมื่อปี
ค.ศ. 1969 ก็มีอายุใกล้เคียงกัน
ที่มา:http://www.agri.kmitl.ac.th/elearning/courseware/aquatic/_1_.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น