2. กระแสน้ำผิวหน้าน้ำ

2. กระแสน้ำผิวหน้าน้ำ
พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกทำให้น้ำในมหาสมุทรมีการขยายตัวอย่างช้า ๆ  ด้วยเหตุดังกล่าวจึงพบว่าระดับน้ำทะเลบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลในเขตอบอุ่นประมาณ เซนติเมตร ส่วนน้ำทะเลที่ขั้วโลกและบริเวณใกล้เคียงจะมีการหดตัว จากความแตกต่างดังกล่าวจึงทำให้เกิดความลาดเอียง น้ำอุ่นจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรก็จะไหลเข้าสู่ขั้วโลกอันเนื่องมาจากผลของแรงโน้มถ่วง แต่การเคลื่อนตัวของน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำจะมีแนวโน้มที่ช้าลงอันเนื่องมาจากอิทธิพลของ Coriolis effect โดยส่วนใหญ่จะพบบริเวณแอ่งมหาสมุทรทั้งสองด้านของเส้นศูนย์สูตร

อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิบริเวณผิวหน้าน้ำก็ไม่ใช่ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำ ตัวการที่สำคัญก็คือลมซึ่งจากบทที่แล้วได้กล่าวถึงลมประจำถิ่นของโลกจำแนกตามละติจูดไปแล้ว จากผลของ coriolis effect ในซีกโลกเหนือกระแสน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำจะมีทิศเบี่ยงเบนไปทางขวามือ ส่วนในซีกโลกใต้กระแสน้ำจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวเบี่ยงเบนไปทางซ้ายมือ และเนื่องมาจากมีส่วนของทวีปกีดขวางอยู่รวมถึงลักษณะทางภูมิประเทศของแอ่งมหาสมุทรทำให้กระแสน้ำเกิดการไหลเวียนรอบขอบของแอ่งมหาสมุทรเป็นวงเรียกว่า gyre (gyros = circle; ภาพที่ 7.1)
ภาพที่ 7.1 ลักษณะการไหลเวียนของกระแสน้ำเป็นวงบริเวณผิวหน้าน้ำในมหาสมุทร
ที่มา: Garrison(2007)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์