2. สาขาของวิทยาศาสตร์ทางทะเล

วิทยาศาสตร์ทางทะเลหรือสมุทรศาสตร์แบ่งเป็น 5 สาขา คือ

1.       สมุทรศาสตร์กายภาพ (Physical oceanography) เป็นการศึกษาถึงคุณสมบัติทางกายภาพของธรรมชาติและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเลหรือมหาสมุทร เช่นกระแสน้ำ คลื่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างอากาศและบริเวณผิวหน้าน้ำ ในมหาสมุทรเป็นต้น
2.       สมุทรศาสตร์เคมี (Chemical oceanography) เป็นการศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีของน้ำทะเล ความสัมพันธ์ของหินและแร่ต่างๆที่มีต่อคุณสมบัติทางเคมีของน้ำทะเล รวมถึงปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นระหว่าง น้ำทะเลกับอากาศ น้ำทะเลกับพื้นมหาสมุทร ตลอดจนสารกัมมันตภาพรังสีในน้ำทะเลเป็นต้น
3.       สมุทรศาสตร์ชีวภาพ (Biological oceanography) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆในทะเล ทั้งพืชและสัตว์ ทั้งในแง่ความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศน์ การแพร่กระจาย และแหล่งที่อยู่รวมถึงการศึกษาความเป็น ไปได้ของการใช้เป็นแหล่งอาหาร
4.       สมุทรศาสตร์ธรณี (Geological oceanography) เป็นการศึกษาถึงลักษณะของพื้นมหาสมุทร โครงสร้างและส่วนประกอบของพื้นทะเลและมหาสมุทร การกระจายของแร่ธาตุต่างๆ ขบวนการของการตกตะกอนในมหาสมุทร รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆที่เกิดขึ้นในทะเลและมหาสมุทรเช่นการเกิดแผ่นดินไหวเป็นต้น
5.       สมุทรศาสตร์อุตุนิยม (Meteorological oceanography) เป็นการศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นผิวหน้าทะเลกับอากาศที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การเกิดของพายุ และลมลักษณะต่างๆ เป็นต้น



ที่มา:http://www.agri.kmitl.ac.th/elearning/courseware/aquatic/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์