2. น้ำทะเล

2. น้ำทะเล
ประมาณร้อยละ 97.2 ของน้ำบนผิวโลกทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรเป็นน้ำทะเล และในน้ำทะเล โดยน้ำหนักร้อยละ 96.5 ประกอบด้วยน้ำและประมาณร้อยละ 3.5 จะเป็นสารต่างๆที่ละลายในน้ำทะเล (ภาพที่ 5.4) น้ำทะเลมีคุณสมบัติเป็นสารละลายอีเลคโตรไลท์ (electrolytic solution) ซึ่งเป็นผลมาจากการละลายของเกลือแร่ต่าง ๆ เราสามารถจำแนกองค์ประกอบของธาตุที่มีอยู่ในน้ำทะเลออกได้เป็น กลุ่มคือ
1.       กลุ่มที่มีปริมาณมาก (major constituents) มีอยู่ 14 ชนิด เกลือของธาตุเหล่านี้เมื่อนำมารวมกันจะคิดเป็น 99.9 เปอร์เซ็นต์ของเกลือที่ละลายในทะเลทั้งหมด (ตารางที่ 5.1)

2.       กลุ่มที่มีปริมาณน้อย (minor constituents) ได้แก่ธาตุที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 1 ppm โดยน้ำหนัก แม้ว่าธาตุในกลุ่มนี้จะมีปริมาณน้อยในธรรมชาติจนไม่มีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำทะเล แต่ก็จัดว่ามีความสำคัญในขบวนการเกี่ยวกับอินทรีย์ และชีวเคมีที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรทำให้ปริมาณไม่คงที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จึงจัดว่าเป็น nonconservative constituents ส่วนสารในกลุ่มที่มีปริมาณมากจะมีปริมาณค่อนข้างคงที่จึงจัดว่าเป็น conservative constituents (ตารางที่ 5.2) รายละเอียดของ conservative และ nonconservative constituent จะกล่าวต่อไปในหัวข้อ 5.6

ภาพที่ 5.4 สัดส่วนของเกลือในน้ำทะเล และสัดส่วนของไอออนต่างๆที่ละลายในน้ำทะเล
ที่มา Garrison (2007)

ตารางที่ 5.1 Major constituent ในน้ำทะเล


ที่มา ดัดแปลงจาก Walton-Smith (1974)


ตารางที่ 5.2 Minor constituent ในน้ำทะเล



ที่มา ดัดแปลงจาก Walton-Smith (1974)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์