2.2 โครงสร้างของโลกพิจารณาจากองค์ประกอบทางกายภาพ
ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของหินภายในโลกก็คือ อุณหภูมิ ความดัน และ ความเครียด ซึ่งทำให้หินมีการเปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนสถานะ
ซึ่งการพิจารณาจากปัจจัยทางกายภาพนี้จะมีประโยชน์ในการศึกษาทางธรณีวิทยาของโลก
เราสามารถแบ่งชั้นโครงสร้างของโลกจากปัจจัยทางกายภาพได้ดังนี้ (ภาพที่ 2.3)
ภาพที่ 2.3 ส่วนต่างๆของโลกเมื่อแบ่งโดยใช้องค์ประกอบทางเคมี
(ซ้าย) และกายภาพ (ขวา)
ที่มา: Garrison (2007)
ที่มา: Garrison (2007)
(1) Lithosphere (lithos=rock) เป็นส่วนของเปลือกโลกที่เย็นตัวลงหรือเป็นชั้นที่มีสถานะเป็นของแข็ง
มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตร ประกอบส่วนที่เป็น brittle
(ส่วนที่เปราะหรือแตกง่าย) continental และ oceanic
crust รวมถึงด้านบนสุดหรือส่วนที่เริ่มแข็งตัวในชั้น mentle
(2) Asthenosphere
(asthenos=soft) เป็นชั้นที่ค่อนข้างบางและมีความร้อนสูงและมีการเคลื่อนไหวอย่างช้า
ๆ มีความหนาประมาณ 700 กิโลเมตร
หินในชั้นนี้จะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปให้มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายพลาสติกภายใต้ความดัน
เปรียบเทียบได้กับทอฟฟี่ที่เย็นตัวแล้ว
(3) Mesosphere (mesos=middle) เป็นส่วนที่อยู่ในชั้นกลางและ
ด้านล่างของ mentle รวมถึงแพร่เข้าไปใน core บางส่วนด้วย โดยจะมีสถานะเป็นของแข็ง อุณหภูมิจะสูงกว่าชั้น Asthenosphere
โดยมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกันแต่คุณสมบัติทางกายภาพต่างกัน
(4) Core แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกันคือ
outer core ซึ่งเป็นของเหลวที่มีลักษณะหนืดความหนาแน่นประมาณ 11.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และ inner core ส่วนนี้จะมีสถานะเป็นของแข็งความหนาแน่นประมาณ
16 กรัมต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตร core เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิสูงมากที่สุดถึงประมาณ
5,500 องศาเซลเซียส โดยจุดศูนย์กลางอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 6,600
องศาเซลเซียส ซึ่งมากกว่าอุณหภูมิที่ผิวหน้าของดวงอาทิตย์ การที่ core
มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องมาจากความดันมหาศาลที่แกนกลางภายในโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น