3. สิ่งมีชีวิตในทะเล

3. สิ่งมีชีวิตในทะเล
1.       สิ่งมีชีวิตในทะเลมีทั้งที่อาศัยอยู่ในมวลน้ำ (pelagic organisms) และอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล (benthic organism) โดยพบว่าในกลุ่มแรกจะคิดเป็น 2% ส่วนในกลุ่มที่สองมีถึง 98 % ของสัตว์ทะเลทั้งหมด

1) 
Pelagic organisms แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
2.       1.1) Pleuston หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ทวนกระแสน้ำได้ โดยจะมีส่วนของร่างกายที่ยื่นไปในอากาศเรียกว่า sail เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่โดยมีลมเป็นตัวพา ส่วนใหญ่จะเป็นพวก carnivore พบเพียง 2 กลุ่มคือ ใน Phylum Coelenterate, class Hydrozoa พวก Chondrophores ได้แก่ Velella (by-the-wind-sailer) และพวก Siphonophores ได้แก่ Physalia (Portugese man of war)
3.       1.2) Plankton เป็นสิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยอยู่ในน้ำไม่สามารถว่ายน้ำได้ เราสามารถจำแนกประเภทได้หลายวิธีคือ
4.       แบ่งตามขนาด ได้แก่
5.       - nanoplankton มีขนาดเล็กที่สุดคือน้อยกว่า 1-10 ไมโครเมตร
- microplankton ขนาดตั้งแต่ 0.076-1 มิลลิเมตร
- mesoplankton มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าขนาด 1 มิลลิเมตร-1 เซนติเมตร
- macroplankton มีขนาดใหญ่ที่สุดคือตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป
6.       แบ่งตามความเป็นพืชหรือสัตว์ ได้แก่
7.       - phytoplankton เป็นพืชขนาดเล็กที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จัดเป็น primary producer
- zooplankton ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ส่วนใหญ่กิน phytoplnkton เป็นอาหาร
8.       แบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิต ได้แก่
9.       - meroplankton ดำรงชีวิตเป็น plankton ชั่วคราวได้แก่ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น ลูกกุ้ง และลูกปลา
- holoplankton เป็น plankton ตลอดวงจรชีวิตเป็นประชากรส่วนใหญ่ทั้งหมดในน้ำ
10.   Phytoplankton พบอยู่ทั้งแบบเดี่ยว ๆ และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) รูปร่างมีได้หลายแบบอาจเป็นรูปทรงกลม หรือสี่เหลี่ยม บางชนิดต่อกันเป็น chain ในการจำแนกชนิดต้องศึกษาลักษณะของเซลล์ ขนาด โครงสร้าง รูปร่าง องค์ประกอบของผนังเซลล์ chloroplast ซึ่งมีคลอโรฟิลล์ a,b , carotene และ xanthophyll อยู่ภายใน เป็นต้น ความสำคัญของ phytoplankton ก็คือ จัดเป็น primary production, เป็น mineralization ทำให้เกิดสมดุลของธาตุอาหารในทะเล และควบคุมความเป็นกรดด่างของน้ำทะเลเป็นต้น
11.   ในการจำแนก phytoplankton นั้นจะแบ่งออกเป็น
12.   - Division Cyanophyta หรือไซยาโนแบคทีเรีย ลักษณะเด่นคือเป็นพวก procaryoteเช่นเดียวกับแบคทีเรีย แต่มีกระบวนการสังเคราะห์แสงในเซลล์ผลผลิตที่ได้มีออกซิเจนรวมอยู่ด้วย ชนิดที่พบบ่อยในทะเลคือ Oscillatoria (เดิมคือสกุล Trichodesmium)
- Division Chlorophyta (Green algae) จะพบค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่จะพบในน้ำจืดมากกว่าในน้ำทะเล ลักษณะที่สำคัญ ๆ คือมี chloroplast เห็นได้ชัดเจน มีหลายรูปร่าง สาหร่ายกลุ่มนี้มีขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงขนาดใหญ่ มีรูปร่างหลายแบบ ตัวอย่างของสาหร่ายในกลุ่มนี้ ๆ ได้แก่ ChlamydomanasChlorella และ Volvoxเป็นต้น
- Division Chromophyta มีสมาชิกมากถึง 9 คลาส เซลล์ปกติมีทั้งเคลื่อนที่ได้และเคลื่อนที่ไม่ได้ เซลล์ของสาหร่ายในดิวิชันนี้มักมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลได้แก่ น้ำตาลแกมเหลือง น้ำตาลแกมทอง เหลืองแกมเขียว กลุ่มที่สำคัญคือ diatom ซึ่งผนังเซลล์จะประกอบด้วยสารพวก silica ตัวอย่างเช่น Chaetoceros, Skeletonema, , Pleurosigma, Nitzschia และ Navicula เป็นต้น dinoflagellate ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ มี flagella 2 เส้นยื่นออกมาจากจุดใกล้เคียงกัน อันหนึ่งจะยื่นออกไปตามแนวยาว อีกอันหนึ่งจะยื่นไปด้านข้างของช่องลำตัวตัวอย่างที่สำคัญ ๆ ได้แก่ Gymnodinium, Ceratium, Dinophysis, Alexandrium เป็นต้น
13.   Zooplankton ประกอบด้วยสัตว์ที่เป็นกลุ่มของ plankton ชั่วคราวและตลอดชีวิต พบตั้งแต่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำพวก protozoa จนถึง chordate พวกที่เป็น plankton อย่างถาวร (holoplankton) ได้แก่
14.   - Phylum Protozoa ได้แก่ Foraminifera ซึ่งมีเปลือกที่เป็นสารประกอบพวกแคลเซียมคาร์บอเนต พบมากในทะเลเขตอบอุ่นเมื่อตายลงจะตกตะกอนทับถมเป็น ooze กลุ่มที่สอง ได้แก่ Radiolarian ซึ่งมีเปลือกเป็นสารประกอบพวกซิลิกา เมื่อตายลงจะทับถมเป็น ooze เช่นเดียวกัน กลุ่มที่สามคือ Tintinnids ซึ่งมีเปลือกเป็นสารประกอบพวก chitin และมักจะมีเม็ดทรายเล็ก ๆ หุ้มตามเปลือก
- Phylum Coelenterata เป็น zooplankton ขนาดใหญ่มีเข็มพิษเพื่อใช้ในการป้องกันตัวตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ ก็คือแมงกะพรุน
- Phylum Ctenophore มีลักษณะคล้ายแมงกะพรุนแต่ไม่มีเข็มพิษ มีแถบคล้ายซี่หวีตามแนวยาวของลำตัวเรียกว่าหวีวุ้น (Pleurobranchia)
- Phylum Arthropoda สัตว์ในไฟลัมนี้กลุ่มที่เป็น holoplankton จัดว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศในทะเล ตัวอย่าง เช่น copepod และเคย (krill)
- Phylum Chaetognatha (arrow worm) มีปริมาณมากและมีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ลักษณะของมวลน้ำได้ บางครั้งอาจพบลำตัวยาวถึง 1 นิ้ว
15.   1.3) Nekton เป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้อย่างเป็นอิสระด้วยตัวเอง ไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของมวลน้ำ ได้แก่ปลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล หมึก เป็นต้น โดยพวกที่เป็น carnivorous จะว่ายน้ำเพื่อหาอาหาร และหลบภัยจากศัตรูโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งอาหารเสมอไป บางครั้งอาจมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานได้เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ หรือเพื่อการผสมพันธุ์ ในกรณีของปลาพวกที่อยู่บริเวณผิวหน้าน้ำหรือกลางน้ำจะเรียกว่า pelagic fish ส่วนปลาที่อาศัยบริเวณหน้าดินเช่น ปลาลิ้นหมา โรนิน กระเบน หรือ Halibut จะเรียกว่า demersal fish
16.   2) Benthic organisms คือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดินหรือตามพื้นทะเล สามารถแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
17.   2.1) Benthic animals หรือ marine benthos หมายถึงสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง หรือไม่มีกระดูกสันหลัง ที่หากินและอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลหรือมีความเกี่ยวข้องกับพื้นท้องทะเล รวมถึงพวกที่อาศัยอยู่ในดิน สัตว์ในกลุ่มนี้มีมากมายและหลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่นกุ้ง ปู ปลาเป็นต้น เราสามารถได้ดังนี้
18.   แบ่งตามที่อยู่
19.   - epifauna อาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเลซึ่งอาจเป็นดิน หิน หรือโคลนก็ได้ บางครั้งอาจรวมถึงปลาหน้าดินที่หากินในบริเวณดังกล่าวด้วย
- infauna เป็นสัตว์ที่ฝังตัวหรือขุดรูอยู่บริเวณใต้พื้นทะเล
20.   แบ่งตามขนาด
21.   - Macrofauna มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 0.5 มม. ขึ้นไป
- Microfauna มีขนาดตั้งแต่ 0.5-2 มม.
- Meiofauna มีขนาดเล็กมากคือประมาณ 63 ไมครอนถึง 0.5 มม.
22.   แบ่งตามลักษณะการกินอาหาร
23.   - Herbivore พวกกินพืชเป็นอาหาร เช่นหอยฝาเดียวบางชนิดที่มีฟันในการขูดแทะ (grazing) สาหร่ายขนาดเล็กที่เกาะอยู่ตามหินบางครั้งอาจเรียกว่า grazer เช่นหอยฝาเดียวชนิด Echinolittorinid sp.
- Carnivore เป็นพวกที่กินสัตว์เป็นอาหาร เช่นหอยฝาเดียวบางชนิดเช่น Thais sp. หรือหอยมะระ ซึ่งจะกินหอยนางรมและเพรียงโดยจะมีน้ำย่อยที่สามารถย่อยแคลเซียมคาร์บอเนตที่เปลือกของเหยื่อ
- Filter feeder and suspension feeder เป็นพวกที่กินอาหารที่แขวนลอยอยู่ในมวลน้ำ โดยจะมีอวัยวะหรือระยางค์ที่ทำหน้าในการดักจับหรือกรองซึ่งอาจเป็นหนวด หรือเหงือก เช่นหอยนางรม หอยแมลงภู่ เพรียง
- Scavenger เป็นพวกที่กินอินทรียสารที่ตายแล้วเป็นอาหาร, Detritus feeder กินซากพืชซากสัตว์ แบคทีเรีย หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เกาะอยู่บนซากพืชซากสัตว์
- Deposit feeder พวกนี้จะกินอาหารที่ตกตะกอนบริเวณพื้นท้องทะเล โดยจะมีขบวนการย่อยและดูดซึมอินทรียสารจากตะกอนเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย
24.   กลุ่มของสัตว์ทะเลหน้าดินประกอบด้วยสัตว์ในไฟลัมต่าง ๆ ดังนี้
25.   - Porifera คือฟองน้ำต่าง ๆ โดยดำรงชีวิตเป็น sessile (เกาะอยู่กับที่) ส่วนใหญ่จะอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง
- Coelenterata ได้แก่ ดอกไม้ทะเล, zooanthid, ปะการังแข็ง ปะการังอ่อน, กัลปังหา เป็นต้น
- Plantyhelminthes เป็นพวกหนอนตัวแบนที่อยู่ตามสาหร่าย หรือซอกปะการัง รูปร่างคล้ายใบไม้ สามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
- Nematean หรือพวกหนอนริบบิ้น มีลักษณะคล้ายหนอนตัวแบนแต่จะมีความยาวมากกว่าบางชนิดอาจยาวถึง 2 เมตร มีส่วนที่คล้ายงวง (probosis) ช่วยในการจับเหยื่อ มีหลายสีพบทั้งที่อาศัยอยู่ในดินและอยู่ตามซอกหิน
- Aschelminthes ส่วนใหญ่จะเป็น meiofauna ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน
- Annelida ได้แก่พวก polychaete (ไส้เดือนทะเล), หนอนฉัตร บางชนิดสร้างท่อไว้อยู่อาศัย
- Arthropoda ส่วนใหญ่จะเป็น crustacean เช่นกุ้ง กั้ง ปู เป็นสัตว์ทะเลหน้าดินที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
- Mollusca ประกอบด้วยหอยต่างๆทั้งฝาเดียว สองฝา รวมถึงหมึกที่หากินอยู่บริเวณพื้นท้องทะเล เช่นหมึกกล้วย และหมึกกระดองเป็นต้น
- Branchiopoda ได้แก่หอยปากเป็ด ซึ่งมีเปลือกและฝาคล้ายหอย แต่มีส่วนของ stalk ซึ่งจะช่วงในการฝังตัว
- Echinodermata มีทั้งกลุ่มที่กินพืชโดยการขูดแทะเช่นเม่นทะเล กินตะกอน (deposit feeder) เช่นปลิงทะเลและดาวเปราะ และเป็นผู้ล่า เช่น ดาวทะเล
- Bryozoa มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม สามารถสร้างหินปูนปกคลุมตัวได้คล้ายกับปะการัง มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆมักเกาะติดกับก้อนหิน
- Chordata ได้แก่ปลาชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน และรวมถึงเพรียงหัวหอม และ amphioxus
26.   2.2) Benthic plant หรือ benthic algae แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
27.   สาหร่ายที่เกาะติดกับ substrate แข็ง มักเกาะอยู่ตามหิน หรือพื้นทรายที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำขึ้นน้ำลงเช่น macroalgae หรือ seaweed ทั้งหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นสาหร่ายสีเขียว น้ำตาล และแดง บางชนิดจะอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
28.   สาหร่ายเซลเดียวบางชนิดที่อาศัยอยู่บนพื้นดินที่อ่อนนุ่ม เช่น blue-green algae, euglena และ benthic diatom เป็นต้น
29.   พืชมีดอก ส่วนใหญ่จะอยู่ในที่ลุ่มน้ำเค็ม (salt marsh) และแนวหญ้าทะเล พวกนี้จะไม่ถูกกินโดยสัตว์ทะเล มีบทบาทสำคัญในการรักษาแร่ธาตุในดิน
30.   ตัวอย่างของ benthic algae ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
- Division Cyanophyta เป็นพืชชั้นต่ำพวก eucaryote สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ อาจมีรูร่างเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ หรือต่อกันเป็นสาย พบในไม้ และดินที่ชื้นแฉะที่รู้จักกันดีคือ spirulina ซึ่งเป็นสาหร่ายที่มีโปรตีนสูงใช้เป็นอาหารเสริม
- D. Chlorophyta ที่รู้จักกันดีคือสาหร่ายไส้ไก่ (Enteromorpha) และสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa)
- D. Phaeophyta (brown algae) ได้แก่ Padina และ Sargassum ซึ่งเป็นสาหร่ายขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย
- D. Rhodophyta (red algae) ที่รู้จักกันดีได้แก่ AcanthophoraGracilaria และ Porphyra หรือจีฉ่ายซึ่งนำมา
เป็นอาหารได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์