3.3 ยุคมืดในยุโรปและบทบาทของจีน

3.3 ยุคมืดในยุโรปและบทบาทของจีน
ในระหว่างที่ยุโรปเข้าสู่ยุคมืด เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นคือการเดินทางไปรุกราน และปล้นสะดมชนชาติอื่น ๆ ของชาวไวกิ้ง ซึ่งเป็นชนชาติที่อยู่ในกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวียปัจจุบัน ชาวไวกิ้งถือเป็นนักเดินทางที่ดุร้าย ป่าเถื่อน เดินทางด้วยเรือที่มีความแข็งแรง และรวดเร็ว ชาวไวกิ้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ปัจจุบัน ได้เดินทางปล้นสะดมไปในประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจนถึงประเทศฝรั่งเศส ไอร์แลนด์และอังกฤษ ส่วนกลุ่มที่อาศัยในประเทศสวีเดนในปัจจุบันเดินทางไปได้ถึงเมืองเคียฟในประเทศรัสเซีย และเมืองคอนแสตนติโนเปิลในตุรกี และในปี ค.ศ. 859 กองเรือไวกิ้งจำนวน 62 ลำเดินทางไปโมร็อคโค เพื่อปล้นสะดมและนำนักโทษมาเป็นทาส ในระยะแรกประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้การบุกรุกของไวกิ้งได้เนื่องจากยังอยู่ในยุคมืด ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคเรอเนซองมีการผนึกกำลังกันระหว่างชนชาติต่าง ๆ ในยุโรปทำให้มีความเข้มแข็งขึ้นจนสามารถต้านทานพวกไวกิ้งได้ทำให้พวกไวกิ้งหาเส้นทางใหม่ทางตะวันตกโดยไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะไอซ์แลนด์ปี ค.ศ. 700 และกรีนแลนด์ในปี ค.ศ. 995 ในระยะแรกของการเดินทางจากนอร์เวย์ไปไอซ์แลนด์นั้น เรือของชาวไวกิ้งชื่อ Bjani Herjulfsooon ประสบกับพายุทำให้เรือออกนอกเส้นทาง เข้าสู่ดินแดนใหม่ ซึ่งก็คือทวีปอเมริกาเหนือปัจจุบันและเดินทางลัดเลาะชายฝั่งทวีปอเมริกาเหนือเพื่อหาทางกลับนอร์เวย์ เขากลับมาได้โดยไม่ได้ทำแผนที่เอาไว้แต่ชาวไวกิ้งรุ่นต่อมาก็สามารถเดินทางกลับไปยังทวีปอเมริกาได้อีก และได้ตั้งชื่อดินแดนแห่งนี้ว่า Vinland (wind land) ในปี ค.ศ. 1000 ไวกิ้งได้ไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา โดยสามารถผูกมิตรกับชาวเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ได้แต่ก็เป็นเวลาไม่นานนัก ชุมชนดังกล่าวได้อพยพกลับนอร์เวย์ในปีค.ศ. 1020

ในช่วงเวลาที่ยุโรปอยู่ในยุคมืดนั้น ชาวจีนกลับมีความก้าวหน้าในการพัฒนาทักษะ เทคนิคและวิธีการในการเดินเรือ โดยได้ตั้งกองเรือขึ้นเพื่อเดินทางไปสำรวจโลกภายนอกในระหว่างปี ค.ศ. 1405 ถึง 1433 การเดินทางครั้งสำคัญคือการเดินทางภายใต้การนำของนายพลเรือ เจิ้ง เหอ ซึ่งนำเรือ 317 ลำพร้อมลูกเรือ 37,000 คน เดินทางไปในมหาสมุทรอินเดีย อินโดนีเซีย เดินทางอ้อมทวีปแอฟริกาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกถึง 7 ครั้ง เรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ใช้ในการเดินทางมาความยาวเรือถึง 134 เมตร (ภาพที่ 1.4) ซึ่งจัดว่าเป็นเรือที่ใหญ่มากในช่วงเวลานั้น เรือดังกล่าวได้บรรทุกของมีค่าเป็นจำนวนมากแต่ไม่ได้เป็นการนำของมีค่าจากประเทศที่สำรวจพบกลับประเทศจีน กลับเป็นการนำของมีค่าจากประเทศจีนไปเป็นของขวัญแก่ประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นเห็นว่าจีนเป็นอารยประเทศเพียงแห่งที่มีความมั่งคั่งและมีความเจริญเหนือประเทศอื่น

ภาพที่ 1.4 เรือที่นายพลเรือ เจิ้งเหอ ใช้เดินทางข้ามมหาสมุทรระหว่างปี ค.ศ. 1405-1433
ที่มา: Garrison (2007)


ในการเดินทางโดยทางเรือข้ามมหาสมุทรเป็นระยะทางไกล ๆ จีนได้พัฒนาเทคนิควิธีการการเดินเรือ และมีความก้าวหน้าในวิศวกรรมการต่อเรือ โดยนำเข็มทิศมาใช้ในการเดินเรือ นำหางเสือมาอยู่บริเวณท้ายเรือ แบ่งท้องเรือออกเป็นห้อง มีเสากระโดงที่ใช้รับลมหลาย ๆ เสา นวัตกรรม  ต่าง ๆ เหล่านี้มีสำคัญต่อการเดินเรือและควบคุมเรือที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวนี้ นักเดินทางในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไวกิ้งหรือโพลีนีเชียน ยังไม่มีการพัฒนาเทคนิคในการนำหางเสือมาใช้ การบังคับทิศทางทำโดยเพียงการใช้พายที่อยู่ด้านข้างของเรือ การแบ่งท้องเรือออกเป็น   ห้อง ๆ ก็เพื่อเป็นการป้องกันในกรณีมีปัญหาเรือรั่วทำให้น้ำที่รั่วซึมถูกจำกันเฉพาะในห้องที่เกิดการรั่ว และทำให้ซ่อมแซมได้ง่าย การขับเคลื่อนเรือขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้แรงขับเคลื่อนสูง การมีเสากระโดงหลายเสาทำให้สามารถรับแรงลมได้มาก ส่วนใบเรือนั้นทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และมีแท่งไม้ไผ่เรียงตัวตามแนวขวางเป็นระยะเพื่อความสะดวกในการม้วนเก็บ นอกจากนั้นการกางและเก็บใบไม่จำเป็นต้องใช้แรงคนปีนขึ้นไปบนเสากระโดง แต่จะควบคุมโดยการใช้เชือกและรอก

การสำรวจโลกใหม่ในทางทะเลของจีนได้หยุดลงในปี ค.ศ. 1433 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการต่างประเทศ จากเดิมซึ่งการประกาศความเจริญอารยธรรมเป็นนโยบายประเทศราช (reverse tribute) โดยให้ประเทศต่าง ๆ ส่งบรรณาการกลับมาที่ประเทศจีนแทนแต่นโยบายดังกล่าวก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด



ที่มา:http://www.agri.kmitl.ac.th/elearning/courseware/aquatic/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์