3.4 ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป

3.4 ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป
เมื่อยุโรปเริ่มเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ(เรอเนสซอง)ได้เกิดความตื่นตัวในการเดินทางทางทะเลขึ้นมาอีกครั้ง จุดมุ่งหมายของการเดินทางในยุคนี้ก็คือเพื่อหาเส้นทางการเดินเรือใหม่ ๆ เพื่อการค้าขายเนื่องจากในระยะเวลาดังกล่าวเส้นทางการค้าขายทางบกระหว่างเอเชียกับยุโรปถูกปิดโดยชาวเตอร์กในประเทศตุรกีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเอเชียและยุโรป บุคคลสำคัญที่ถือว่ามีบทบาทในการส่งเสริมให้มีการเดินทางเพื่อหาเส้นทางการค้าทางทะเลคือ เจ้าชายเฮนรี่ (Prince Henry the Navigator) แห่งโปรตุเกสโอรสองค์ที่สามของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระองค์มีพระดำริว่าการเดินทางเพื่อการสำรวจทะเลและมหาสมุทรเป็นกุญแจสำคัญในการนำไปสู่ความมั่งคั่งและความสำเร็จในการค้าในราชอาณาจักร พระองค์จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนการเดินเรือและการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล และให้ความอุปถัมภ์และสนับสนุนนักเดินเรือที่จะเดินทางไปสำรวจโลกใหม่ในระหว่างปี ค.ศ 1451 ถึง 1470 นักเดินเรือคนสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวคือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเดินทางไปยังอเมริกา ถึงแม้ว่าเขาจะเดินทางพบอเมริกาหลังชนเผ่าพื้นเมืองซึ่งเดินทางไปถึงเป็นกลุ่มแรกเมื่อหนึ่งหมื่นปีที่ผ่านมา และหลังชาวไวกิ้งห้าร้อยปี แต่เขาก็ได้รับเกียรติให้เป็นคนแรกที่เปิดโลกใหม่ของอเมริกา เนื่องจากข้อมูลทั้งด้านการเดินเรือ สินค้าและสิ่งของที่นำมาจากอเมริกาได้รับความสนใจจากชาวยุโรปมาก ในความเป็นจริงแล้วโคลัมบัสไม่มีความสนใจที่จะเดินทางเพื่อสำรวจหาดินแดนใหม่ ๆ เขาพยายามจะหาเส้นทางการเดินเรือที่ย่นระยะทางมากที่สุดเพื่อลดเวลาการเดินทางจากยุโรปไปยังแหล่งทำการค้าทางตะวันออก แต่ด้วยความผิดพลาดของเขาทำให้เขาเดินทางไปพบอเมริกาโดยบังเอิญ แทนที่จะเดินทางไปถึงอินเดียหรือญี่ปุ่นตามที่เขาคาดหวัง

ในปี ค.ศ. 1507 ได้มีการแก้ไขแผนที่ที่ใช้ในการเดินเรือให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นักเดินเรือที่มีชื่อเสียงในรุ่นต่อมาคือ เฟอร์ดินาน แมกเจลแลนด์ ชาวโปรตุเกสซึ่งทำการเดินเรือให้กับราชสำนักสเปน มีความเชื่อว่าเขาสามารถเปิดโลกใหม่ทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออกได้โดยใช้แผนที่ในการเดินเรือ แต่ผู้ที่ทำแผนที่นั้นคำนวณขนาดของทวีปอเมริกาและมหาสมุทรแปซิฟิกผิดพลาดจากความเป็นจริงไปมาก เขาถูกฆาตกรรมที่ฟิลิปปินส์ ลูกเรือของเขาตัดสินใจเดินทางไปทางตะวันตกอ้อมโลกไปอีกด้านหนึ่ง มีลูกเรือเพียง 34 คนจาก 260 คนที่รอดชีวิตกลับมาในปี ค.ศ. 1522 จากการเดินทางโดยใช้เวลาทั้งหมด 3 ปี แต่โลกถือว่าเขาเป็นคนแรกที่เดินทางรอบโลกได้สำเร็จ ช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเป็นยุคสิ้นสุดของการสำรวจทะเลและมหาสมุทรเพื่อการค้าขาย เนื่องจากการล่มสลายของราชสำนักจากสงครามในบางประเทศ

ที่มา:http://www.agri.kmitl.ac.th/elearning/courseware/aquatic/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์