3.7 การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลในศตวรรษที่ 20

3.7 การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลในศตวรรษที่ 20
การศึกษาและสำรวจทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลในศตวรรษที่ผ่านมามีการใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน มีราคาแพงและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น การเดินเรือก็มีการใช้อุปกรณ์ทางอีเลคทรอนิคส์ และหาวิธีในการสะสมเสบียงอาหารในเรือให้ได้ปริมาณมาก ทำให้การเดินเรือมีความสะดวกสบายมากขึ้นและสามารถเดินทางได้เป็นระยะเวลานาน การศึกษาส่วนใหญ่จะไปในพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึงเช่นขั้วโลก การศึกษาและการสำรวจครั้งสำคัญ ๆ ได้แก่

  • ค.ศ. 1925 ได้มีโครงการสำรวจมหาสมุทรของประเทศเยอรมันชื่อ Meteor Expedition ซึ่งทำการสำรวจ มหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ (South Atlantic) เป็นเวลาสองปี โดยมีการนำเครื่องมือทางอีเลคโทรนิคใหม่ ๆ มาทดลองใช้ เช่นการใช้ Echo sounder ในการวัดความลึกของมหาสมุทรเป็นต้น
  • เรือสำรวจทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลลำแรกของอเมริกาชื่อ Atlantis ซึ่งปล่อยลงน้ำในปี ค.ศ. 1931 โดยทำการศึกษาทางด้านสมุทรศาสตร์เคมี, ชีวภาพ และธรณี บริเวณชายฝั่งทางใต้ของ California ในปี ค.ศ. 1937 และข้อมูลที่ได้ในการสำรวจครั้งนั้นได้ตีพิมพ์ในวารสาร The Oceans ในปี ค.ศ. 1942 ซึ่งจัดว่าเป็นเอกสารอ้างอิงยุคใหม่ ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1951 เรือ H.M.S Challenger ลำใหม่ได้ใช้เวลาสองปีในการเดินทางเพื่อ การสำรวจ ความลึกที่แน่นอนของมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดียโดยใช้ echo sounder
  • ในปี ค.ศ. 1968 เรือสำรวจชื่อ Glomar Challenger ซึ่งเป็นเรือขุดเจาะพื้นท้องมหาสมุทรได้ทำการสำรวจหาข้อยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของพื้นมหาสมุทร และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องคือ seafloor spreading และ plate tectonic เรือลำนี้สามารถขุดเจาะพื้นมหาสมุทรที่ความลึกมากกว่า 6,000 เมตรหรือ 20,000 ฟุตเพื่อศึกษาลักษณะของพื้นมหาสมุทรและตะกอน
  • ใน ปี ค.ศ. 1985 เรือ JOIDES Resolution (JOIDES มาจาก Joint Oceanographic Institution for Deep Earth Sampling) อุปกรณ์ขุดเจาะในเรือลำนี้สามารถขุดเจาะพื้นมหาสมุทรที่ความลึกถึง 8,100 เมตรหรือ 27,000 ฟุตรวมทั้งมีอุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการทางธรณีวิทยาที่สมบูรณ์เพื่อการศึกษาทางสมุทรศาสตร์ธรณีของมหาสมุทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์