3. ที่มาของเกลือในมหาสมุทร (Source of the Ocean’s salts)

3. ที่มาของเกลือในมหาสมุทร (Source of the Ocean’s salts)

ที่มาของเกลือในมหาสมุทรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้จนกว่าจะทราบถึงการเกิดและประวัติความเป็นมาที่แน่นอนของโลก บางทฤษฎีเชื่อว่าที่มาของเกลือในมหาสมุทรมีที่มาจากการผุกร่อนของหินอัคนีที่ผิวเปลือกโลกในช่วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่กำเนิดโลกมีการปลดปล่อยสารละลายลงสู่ทะเลถึง 5 x 1019 กิโลกรัม โดยทุก ๆ กิโลกรัมของเกลือในมหาสมุทรจะเป็นผลจากการผุกร่อนของหินอัคนี 600 กิโลกรัม แต่ทฤษฎีนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับนักเนื่องจากสารละลายที่เข้ามาสู่ทะเลบางส่วนจะยังคงละลายอยู่ บางส่วนจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นตะกอนซึ่งอาจอยู่ในระหว่างจมตัวลงหรือตกทับถมกันแล้ว ซึ่งจะมีความยุ่งยากเมื่อทำการวิเคราะห์ทางเคมีถึงที่มาของสารละลายในแต่ละส่วน

บางทฤษฎีเชื่อว่าที่มาของเกลือในทะเลไม่ได้มาจากการผุกร่อนของหินอัคนีของเปลือกโลกเพียงอย่างเดียวเนื่องจากเมื่อนำน้ำเค็มจากทะเลสาบปิดต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เช่น Great Salt Lake ในรัฐยูท่าห์ สหรัฐอเมริกาและทะเลสาบ Dead Sea ในประเทศอิสราเอลพบว่าองค์ประกอบของน้ำดังกล่าวแตกต่างกับในน้ำทะเลมาก จึงเสนอว่าที่มาของเกลือในทะเลน่าจะมาจากการทำปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างสารละลายที่มาจาการผุกร่อนของหินอัคนีที่ลงสู่ทะเลและ excess volatiles (excess volatiles หมายถึงองค์ประกอบใด ๆ ของน้ำทะเลที่อยู่นอกเหนือจากสารละลายที่เกิดจากการผุกร่อนของหินอัคนี ซึ่งได้แก่สารต่าง ๆ จากภายในโลกที่ถูกปล่อยออกสู่ผิวเปลือกโลก ซึ่งจะมีสารต่าง ๆ มากมายเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คลอรีน ซัลเฟอร์ ไฮโดรเจน  ฟลูออรีน ไนโตรเจน และไอน้ำเป็นต้น) เมื่อเกิดการทำปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างสารจากทั้งสองแหล่งเช่น โซเดียมไอออนจากการผุกร่อนของหินอัคนีเปลือกโลกกับคลอรีนไอออนที่ออกมาจากหินหลอมละลายภายในโลกจะรวมกันเป็นเกลือในมหาสมุทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์