3. องค์ประกอบและคุณสมบัติของอากาศที่ห่อหุ้มโลก

3. องค์ประกอบและคุณสมบัติของอากาศที่ห่อหุ้มโลก

อากาศที่ห่อหุ้มโลกประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน (78.1 เปอร์เซ็นต์) และออกซิเจน (20.9 เปอร์เซ็นต์) ส่วนธาตุหรือสารอื่นรวมประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ อากาศจะมีไอน้ำรวมอยู่ด้วยเสมอ และอาจมีได้มากถึง 4 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร เราสามารถเห็นไอน้ำดังกล่าวได้ใน หลายรูปแบบ เช่น เมฆ หรือหมอก ที่มาของไอน้ำเหล่านี้จะมาจากแผ่นดิน พืชและจากผิวหน้าน้ำทะเล ระยะเวลาที่ไอน้ำอยู่ในอากาศใช้เวลาประมาณ 10 วัน โดยจะออกจากอากาศ โดยกระบวนการ ต่าง ๆ เช่น ฝน หรือหิมะ

บริเวณผิวหน้าโลกอากาศจะรวมตัวกันอยู่หนาแน่น เนื่องมาจากน้ำหนักของอากาศยกตัวจาก บริเวณใกล้ผิวหน้าน้ำทะเลไปยังละติจูดที่สูงขึ้นไปซึ่งมีความดันน้อยกว่า และเกิดการ แพร่กระจายออกไป เปรียบได้กับการที่เราปล่อยลมออกจากยางรถ อากาศจะเย็นลงเรื่อย ๆ เมื่อมันแพร่กระจายออกไป ในทางตรงกันข้ามเมื่อเราอัดอากาศเข้าไปในยางจะเกิดความร้อนขึ้น

อากาศอุ่นจะมีปริมาณไอน้ำมากกว่าอากาศเย็น ไอน้ำที่อยู่ในอากาศเย็นสามารถ ก่อตัวเป็นเมฆได้ง่ายกว่า เนื่องจากไม่สามารถรักษาสถานะไอน้ำในอากาศได้ดี และถ้าไอน้ำ เหล่านี้ลอยตัวขึ้นสูงมากขึ้นและอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จะเกิดการควบแน่นมาเป็นหยดน้ำ เช่นน้ำฝน หรือละอองหิมะกลับมาบนผิวโลก กระบวนการลอยตัว การแพร่ขยาย เย็นตัว และกลับคืนสู่ผิวโลกมีความสำคัญในการ ทำความเข้าใจการไหลเวียนของบรรยากาศ อากาศ และภูมิอากาศของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์