3. Isostacy

3. Isostacy
เป็นสภาพการวางตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลของเปลือกโลกทวีปและเปลือกโลกมหาสมุทร โดยที่เปลือกโลกทวีปซึ่งมีความหนาและมีความหนาแน่นน้อยจึงสามารถยกตัวขึ้นสูงขึ้นไปในอากาศได้ ส่วนที่เป็นภูเขาจะมีส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายรากยื่นลงไปในชั้น mentle ขณะเดียวกันเปลือกโลกมหาสมุทรซึ่งมีลักษณะบางและมีความหนาแน่นมากกว่า จะลอยตัวอยู่เหนือชั้น mentle โดยไม่มีส่วนที่สูงขึ้นไปและมีรากเหมือนเปลือกโลกทวีป สภาพของสมดุลแบบนี้คล้ายกับการลอยตัวของภูเขาน้ำแข็ง ประมาณกันว่า 93% ของเปลือกโลกทวีปจมตัวอยู่ในชั้น lithosphere ในระดับที่สมดุล (isostatic level) เนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของหินที่ประกอบเป็นชั้นของเปลือกโลกทั้งสองชนิด ทำให้ชั้นเปลือกโลกทวีปยังสามารถสูงขึ้นไปในอากาศได้อีกมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบนเปลือกโลกทวีปเปลือกโลกมหาสมุทรก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลเสมอ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดที่สามารถยืนยันถึง Isostacy ของเปลือกโลกก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทวีปแอนตาร์คติกาซึ่งถูกปกคลุมไว้ด้วยน้ำแข็งหนาถึง 4,000 เมตร น้ำหนักอันมหาศาลของน้ำแข็งบนพื้นทวีปจะกดให้ทวีปจมตัวลงไป ถ้าน้ำแข็งละลายจะทำให้พื้นทวีปเคลื่อนตัวขึ้นมาอย่างช้า ๆ คล้ายกับเอาของที่บรรทุกอยู่บนเรือสินค้าออกไป (ภาพที่ 2.4) ในยุคน้ำแข็งที่ผ่านมาน้ำหนักของน้ำแข็งที่กดลงบนพื้นทวีปในประเทศแคนาดา, สแกนดิเนเวีย และไซบีเรีย ลึกลงไปถึงชั้น mentle จนถึงเมื่อประมาณ 18,000 ปีที่ผ่านมาน้ำแข็งเริ่มละลายทำให้พื้นทวีปดังกล่าวมีความสูงมากกว่าเดิมประมาณ 500-600 เมตร แต่มันจะต้องสูงขึ้นอีก 200 เมตรจึงจะถึง isostatic equilibrium
ภาพที่ 2.4 หลักของการลอยตัว (The principle of bouyancy) เรือจะจมตัวลงเท่ากับปริมาตรของน้ำหนักของที่บรรทุก
ที่มา: Garrison (2007)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์