4) ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน (mangrove ecosystem)

4) ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน (mangrove ecosystem) เป็นระบบนิเวศน์ที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย ป่าชายเลนเป็นป่าที่อยู่ในเขต intertidal พบมากบริเวณชายฝั่งทะเลที่อยู่ระหว่างเส้นละติจูดระหว่าง 25 องศาเหนือและใต้ ไม้ยืนต้นที่เป็น dominant species ที่พบมากได้แก่ต้นโกงกาง (Rhizophora sp.) แสม (Avicennia spp) ลำพู (Sonneratia spp.) พังกาหัวสุม (Bruguiera spp.) และโปรง (Ceriops spp.)และจาก เป็นต้น พืชเหล่านี้จะมีวิวัฒนาการที่สามารถเจริญงอกงามได้ดีบนดินเลนที่ค่อนข้างเค็มและมีระบบรากที่ซับซ้อนเพื่อช่วยในการหายใจ และช่วยยึดเกาะกับพื้นเพื่อป้องกันแรงกระทบจากคลื่น นอกจากนี้รากของพืชเหล่านี้ยังป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่ง และลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือผลและเมล็ดสามารถงอกได้ง่าย สัตว์ที่พบ ได้แก่พวกที่ เป็น infauna ได้แก่ ปู ไส้เดือนทะเล และกุ้งเป็นต้น ส่วนที่เป็น epifauna ได้แก่ ปู หอย ปลิง และงู ตามรากไม้อาจพบค้างคาวและนก

ความสำคัญของป่าชายเลนคือ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จัดเป็นบริเวณที่ก่อให้เกิดผลผลิตขั้นต้นทางชีวภาพ จากต้นไม้ สาหร่าย แพลงตอนพืช รากไม้และใบไม้ที่หล่นก็จะเป็นแหล่งของสารอินทรียี่สำคัญ, เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่างๆ เพราะมีอาหารสมบูรณ์และมีที่หลบภัยมาก พื้นที่ที่เป็นป่าจะมีความลาดชันน้อย คลื่นลมที่พัดเข้าไม่รุนแรง สัตว์ทะเลจึงนิยมใช้เป็นที่วางไข่และอนุบาลตัวอ่อน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสะสมของดินตะกอน ช่วยเพิ่มพื้นที่บริเวณชายทะเล (land builder) เนื่องจากระบบรากมีความซับซ้อนจึงเก็บกักดินไว้ได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันคลื่นลมต่างๆได้อีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์