4.2 Continental Drift

4.2 Continental Drift
ในปี ค.ศ. 1912 นักอุตุนิยมวิทยาชาวเยอรมันชื่อ Alfred Wegner ได้เสนอสมมติฐานเกี่ยวกับการเลื่อนลอยของทวีป (Continental drift) โดยเชื่อว่าพื้นทวีปทั้งหมดของโลกเชื่อมรวมกันเป็นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ เรียกว่า Pangaea (pan = all ; gaea = earth) ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร (thalassa = ocean) เมื่อ 200 ล้านปีที่ผ่านมา Pangaea เริ่มแยกตัวออกจากกันเรื่อย ๆ จนมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน โดยเขาอธิบายโดยอาศัยผลจากการศึกษาถึงรูปร่างและลักษณะของทวีปแอตแลนติกเหนือและใต้ โดยเฉพาะบริเวณขอบทวีปเมื่อนำมาต่อประกอบกันแล้วจะเข้ากันได้ และอธิบายว่าซาก fossil ของเฟิร์นจากตัวอย่างของ Suess นั้นได้จากการพังทลายของธารน้ำแข็งที่เดียวกันแต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปยังบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกคืออเมริกาใต้, ออสเตรเลีย และอินเดีย และจากซาก fossil ของพืชเขตร้อนที่อยู่ในถ่านหินที่พบในทวีปแอนตาร์กติกาโดย Ernest Stockleton ในปี ค.ศ. 1908 Wegner เสนอว่าการเคลื่อนตัวออกจากกันเป็นทวีป ต่าง ๆ นั้นน่าจะมาจากผลจากแรงระเบิดของภูเขาไฟ (ภาพที่ 2.6)

ภาพที่ 2.6 ลักษณะของ Pangaea และ Panthalassa ตามสมมติฐานของ Alfred Wegner
ที่มา: Garrison (2007)


นอกจากนี้ Wegner ยังอธิบายถึงเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ทวีปเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกันโดยเขาเชื่อว่าทวีปมีการเคลื่อนตัวเข้าหาเส้นศูนย์สูตรอันเนื่องมาจากผลจากแรงหมุนของโลก ประกอบกับแรงที่เกิดจากน้ำขึ้นน้ำลงร่วมกับแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ แต่สมมติฐานของเขายังไม่ได้รับการยอมรับกันมากนักเนื่องจากในความเห็นของนักธรณีวิทยาในขณะนั้นเชื่อว่าใต้พื้นโลกในชั้น mantle ยังเป็นของแข็งดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พื้นผิวของโลกจะมีการเคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์