4. Salinity and Chlorinity

4. Salinity and Chlorinity
เพื่อความสะดวกในการศึกษาคุณสมบัติของน้ำทะเลและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณเกลือที่ละลายในทะเล คณะกรรมการสมุทรศาสตร์ระหว่างประเทศจึงได้กำหนดค่าที่ใช้บอกถึงความเข้มข้นของเกลือในน้ำทะเลตามบริเวณต่าง ๆ ของมหาสมุทรเรียกว่า ซาลินิตี้ (salinity) ซึ่งหมายถึงปริมาณของแข็งทั้งหมดมีน้ำหนักเป็นกรัมที่เหลืออยู่ในน้ำทะเล กิโลกรัม เมื่อสารคาร์บอเนตต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนเป็นออกไซด์ โบรไมด์และไอโอไดด์ถูกแทนที่โดยคลอไรด์ และสารอินทรีย์ต่าง ๆ ถูกออกซิไดซ์โดยสมบูรณ์ ในระยะแรก ๆ การหาค่าซาลินิตี้จะทำโดยการทำให้น้ำทะเลระเหยโดยใช้แสงแดด แต่พบว่าเกิดปัญหาเมื่อค่าที่ได้มีความผิดพลาดเนื่องจากผลของอุณหภูมิซึ่งบางครั้งอาจสูงเกินไปทำให้สารบางตัวสลายตัวไป วิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไปในการหาค่าซาลินิตี้ก็คือการหาค่าคลอรินิตี้ (chlorinity)ซึ่งหมายถึงปริมาณทั้งหมดของ คลอไรด์ ไอโอไดด์ และโบรไมน์มีน้ำหนักเป็นกรัมในน้ำทะเล กิโลกรัมแล้วคำนวณกลับไปเป็นค่าซาลินิตี้จากสมการ
      Salinity (%) = 1.80655 x Chlorinity (%)     

ค่าซาลินิตี้ของน้ำทะเล นอกจากจะเกี่ยวข้องกับปริมาณเกลือที่ละลายอยู่โดยตรงแล้ว ยังใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการจำแนกมวลน้ำในมหาสมุทรด้วย โดยมีความสัมพันธ์ร่วมกับคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆบางตัวของน้ำทะเล วิธีการหาค่าซาลินิตี้ของน้ำทะเลนอกจากจะใช้วิธีการทางเคมีแล้ว อาจใช้คุณสมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้าของไอออนต่าง ๆ ในน้ำทะเล โดยพบว่าค่าซาลินิตี้ของน้ำทะเลจะมีสัดส่วนโดยตรงกับสภาพการนำไฟฟ้า สำหรับรายละเอียดของวิธีการจะไม่กล่าวในที่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์