4. Geostrophic Gyres

4. Geostrophic Gyres
การที่น้ำบริเวณผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรเคลื่อนที่เป็นวง (gyre) โดยมีสมดุลระหว่าง Coriolis effect และแรงโน้มถ่วงของโลกจะเรียกว่า geostrophic gyre (geos=Earth, strophe=turning) กระแสน้ำที่เคลื่อนตัวใน gyre ก็จะเรียกว่า geostrophic current ซึ่ง geostrophic gyre นี้ต่างก็อยู่อย่างเป็นอิสระต่อกันในแต่ละซีกโลก โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือรูปแบบหรือทิศทางการพัดของลม และการวางตัวของพื้นทวีป

การไหลเวียนของกระแสน้ำบริเวณผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรของโลกนั้นจะมี วงใหญ่ ๆ ด้วยกัน โดยสองวงแรกจะอยู่ทางซีกโลกเหนือ และอีกสี่วงจะอยู่ในซีกโลกใต้ (ภาพที่ 7.6) ใน วงนี้จะเป็น geostrophic gyre 5 วงคือ North Atlantic gyre, South Atlantic gyre  North Pacific Gyre, South Pacific gyre และ the Indian Ocean gyre ลักษณะการเคลื่อนตัวของทั้ง วงจะเป็นแบบปิด ส่วนกระแสน้ำอีกหนึ่งอันที่เหลือถือว่าเป็นกระแสน้ำที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า West Wind Drift หรือ Antarctic circumpolar current ไม่ถือว่าเป็น geostrophic gyre เนื่องจากมันไม่มีการเคลื่อนตัวรอบแอ่งมหาสมุทร แต่จะเคลื่อนตัวไปรอบๆทวีปแอนตาร์คติกาทางทิศตะวันออกโดย westerly wind โดยไม่มีส่วนของทวีปมาต้านการเคลื่อนตัวของมวลน้ำแต่อย่างใด

 ภาพที่ 7.6 กระแสน้ำหลักทั้ง วงในมหาสมุทรต่างๆของโลก
ที่มา: Garrison (2007)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์