5. Current within Gyres
เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวและรูปร่างที่แตกต่างกัน ทำให้กระแสน้ำใน geostrophic gyre ในแต่ละบริเวณมีลักษณะที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งจะแบ่งได้ตามตำแหน่งภายในวงได้ดังนี้
1. Western Boundary Currents กระแสน้ำประเภทนี้จะไหลเร็วที่สุดและมีความลึกของมวลน้ำมากที่สุดในบรรดา geostrophic current ทั้งหมด จะพบบริเวณขอบทางด้านทิศตะวันตกของแอ่งมหาสมุทร หรือนอกชายฝั่งทางตะวันออกของทวีป โดยในแต่ละ gyre จะนำพาเอาน้ำอุ่นไปทางขั้วโลก western boundary current ที่สำคัญ ๆ คือ กระแสน้ำอุ่น Gulf stream (North Atlantic Gyre), the Japan or Kuroshio current (North Pacific gyre), the Brazil Current (South Atlantic Gyre), the East Australian Ocean (South Pacific gyre) และ the Agulhas Current (the Indian Ocean gyre) หน่วยในการศึกษาปริมาตรของน้ำที่เคลื่อนตัวไปในกระแสน้ำจะมีหน่วยเฉพาะคือ Sverdrup (sv) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสมุทรศาสตร์ชื่อ Harald Sverdrup โดย 1 sv จะมีค่าเท่ากับ 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในจำนวนนี้กระแสน้ำอุ่น Gulf stream มีความเร็วในการเคลื่อนตัวมากที่สุดคืออย่างน้อย 55 sv (มากกว่าในแม่น้ำ อเมซอนซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก 300 เท่า) และมีผลถึงระดับความลึกที่ 1,000 เมตรหรือมากกว่า เนื่องจากมันเคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูงมวลน้ำจึงไม่มีโอกาสปรับตัวให้เข้ากับสภาพของภูมิอากาศของท้องถิ่นในบริเวณที่มันไหลไป จึงจัดเป็นตัวการสำคัญที่มีส่วนในการเคลื่อนย้ายพลังงานความร้อนจากเขตร้อนสู่ขั้วโลก
2. Eastern Boundary Currents กระแสน้ำประเภทนี้จะไหลอยู่ทางตะวันออกของขอบมหาสมุทร หรือทางชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปประกอบไปด้วย the Canary Current (North Atlantic Gyre), the Bangular Current (South Atlantic Gyre), the California Current (North Pacific Gyre), the West Australian Current ( the Indian Ocean Gyre) และ Peru or Hamboldt Current (South Pacific Gyre) คุณสมบัติของกระแสน้ำนี้จะตรงกันข้ามกับ western boundary current ในเกือบทุกทาง โดยมันจะนำน้ำเย็นให้เคลื่อนตัวไปยังเส้นศูนย์สูตร กระแสน้ำจะมีความกว้างมากบางครั้งอาจกว้างถึง 1,000 กิโลเมตร และไม่สามารถจำแนกขอบเขตของมวลน้ำได้อย่างชัดเจน อัตราการเคลื่อนตัวต่ำเช่นกระแสน้ำเย็น Canary มีการเคลื่อนตัวเพียง 16 sv หรือ 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น
3. Transverse Currents เป็นกระแสน้ำข้ามมหาสมุทรในแนวตะวันออกไปตะวันตก และตะวันตกไปตะวันออก เกิดจากแรงลมประจำถิ่นโดยลักษณะและทิศทางการเคลื่อนตัวจะมีความสัมพันธ์กับ western และ eastern boundary โดยลมสินค้าจะก่อให้เกิด North and South Equatorial Current ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติคตามลำดับ กระแสน้ำดังกล่าวจะตื้นและกว้างเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกโดยมีอัตราการเคลื่อนตัวประมาณ 30 sv ส่วน westerly wind ก็จะก่อให้เกิดกระแสน้ำที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกสวนทางกับ equatorial current เช่น North Pacific and North Atlantic Current ในขั้วโลกเหนือเป็นต้น นอกจากนี้ Equatorial ที่เกิดขึ้นจะมีกระแสน้ำที่ไหลในทิศทางตรงกันข้ามอีกซึ่งจะอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรประกอบด้วย North and South Equatorial Countercurrent
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น