5. The Colioris effect
วัตถุใด ๆ ที่เคลื่อนจะที่ไปตามผิวหน้าโลกนั้น
จะเป็นไปตามกฏของเฟอเรล (Ferrel’s law) ซึ่งกล่าวว่าวัตถุ หรือของไหลใด ๆ ที่เคลื่อนที่ไปตามผิวหน้าโลกในซีกโลกเหนือ
จะมีทิศทางการเคลื่อนที่ เบี่ยงเบนไปทางขวา ส่วนในซีกโลกใต้วัตถุหรือของไหลนั้น ๆ
จะมีทิศทางการเคลื่อนที่เบี่ยงเบนไปทางซ้ายตัวอย่างที่จะอธิบายหลักการดังกล่าวก็คือ
ที่บริเวณลองติจูดที่ 79 องศาตะวันตกจุดที่อยู่บน
เส้นศูนย์สูตรก็คือเมือง Quito ประเทศเอกวาดอร์
เหนือลองติจูดเดียวกันนี้จะเป็นที่ตั้งของเมือง buffalo ของมลรัฐนิวยอร์ค
สหรัฐอเมริกา ดังนั้นเมื่อโลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 วันหรือ 24
ชั่วโมงตำแหน่งของเมือง buffalo นี้ก็จะอยู่เหนือเมือง
Quito เสมอ (ภาพที่ 6.7)
การที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบจึงคิดเป็นมุม 360 องศา ดังนั้นเมืองทั้งสอง ก็จะต้องเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเป็นมุม 15 องศาต่อชั่วโมง (360/24 = 15 องศาต่อชั่วโมง) ดังนั้นความเร็วใน การเคลื่อนตัวระหว่างเมืองทั้งสองจึงควรจะแตกต่างกัน หากพิจารณาโลกจาก ทางด้านบน คือมองจากขั้วโลกเหนือลงมา เมือง Quito ซึ่งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรจะมีความเร็ว ในการเคลื่อนตัวมากกว่า เมื่อหมุนไป 15 องศาหรือ 1 ชั่วโมงจะมีระยะทาง 1,658 กิโลเมตร ส่วนเมือง baffalo จะมีระยะทางเพียง 1,260 กิโลเมตร (ภาพที่ 6.8)
การที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบจึงคิดเป็นมุม 360 องศา ดังนั้นเมืองทั้งสอง ก็จะต้องเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเป็นมุม 15 องศาต่อชั่วโมง (360/24 = 15 องศาต่อชั่วโมง) ดังนั้นความเร็วใน การเคลื่อนตัวระหว่างเมืองทั้งสองจึงควรจะแตกต่างกัน หากพิจารณาโลกจาก ทางด้านบน คือมองจากขั้วโลกเหนือลงมา เมือง Quito ซึ่งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรจะมีความเร็ว ในการเคลื่อนตัวมากกว่า เมื่อหมุนไป 15 องศาหรือ 1 ชั่วโมงจะมีระยะทาง 1,658 กิโลเมตร ส่วนเมือง baffalo จะมีระยะทางเพียง 1,260 กิโลเมตร (ภาพที่ 6.8)
ภาพที่ 6.7 ตำแหน่งของเมือง Quito และ Buffalo ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลองติจูดเดียวกัน
แต่ต่างละติจูด
ที่มา : Garrison (2007)
ที่มา : Garrison (2007)
ภาพที่ 6.8 ภาพของโลกเมื่อมองจากด้านบน ระยะทางที่เมือง Buffalo
เคลื่อนที่ไปจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 ชั่วโมง
(เป็นมุม 15 องศาเท่ากัน) จะน้อยกว่าเมือง Quito
ที่มา : Garrison (2007)
ที่มา : Garrison (2007)
เมื่อมีวัตถุใด ๆ เคลื่อนที่จากเมือง Quito ไปยังเมือง Buffalo สมมติว่าเป็นลูกปืนใหญ่เมื่อเริ่มยิง
ลูกปืนนี้ออกไปนอกจากมันจะเคลื่อนที่ไปทางเหนือแล้ว
มันควรจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก
ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของการหมุนของโลกที่เมือง Quito ในหนึ่งชั่วโมง
ซึ่งเท่ากับ 1,658 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าความเร็วในการเคลื่อนตัวของทั้งสองบริเวณจะแตกต่างกัน
อันเนื่องมาจากส่วนโค้งของโลก
เมื่อมันเดินทางมายังบริเวณที่มีความเร็วในการเคลื่อนตัวต่ำกว่า มันก็จะค่อย ๆ
มีทิศทางเบี่ยงเบนไปทางขวา คือไปตกยังทิศตะวันออกของเมือง buffalo ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรายิงลูกปืนใหญ่อีกลูกหนึ่งจากเมือง buffalo ไปยังเมือง Quito ลูกปืนใหญ่จะเคลื่อนตัวไป
ทางใต้จากบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของโลกต่ำไปยังบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของโลกสูง
ลูกกระสุนลูกนี้ ก็จะไปตกยังทิศตะวันตกของเมือง Quito (ภาพที่
6.9)
ภาพที่ 6.9 การเบี่ยงเบนทิศทางของลูกปืนใหญ่จากผลของ
Colioris effect
ที่มา Garrison (2007)
ที่มา Garrison (2007)
การสังเกตทิศทางการเคลื่อนตัวของลูกปืนใหญ่นี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกต
จากกรณีดังกล่าว สำหรับลูกปืนใหญ่ลูกที่หนึ่งถ้าผู้สังเกตอยู่ที่เมือง Quito จะพบว่าลูกปืนจะมีทิศทางการเคลื่อนตัวเบี่ยงไป
ทางขวา และลูกปืนลูกที่สองจะมีทิศทางการเคลื่อนที่เบี่ยงตัวเข้ามาทางซ้าย
ซึ่งจะเป็นไปตามนี้ถ้าเรามอง การเคลื่อนตัวของวัตถุใด ๆ
ที่เคลื่อนตัวในซีกโลกเหนือ แต่ถ้าผู้สังเกตอยู่ที่เมือง Buffalo แล้วมองไปทางใต้ จะพบว่าลักษณะการเคลื่อนตัวจะตรงกันข้ามกันซึ่งจะเป็นไปตามนี้ถ้าเรามองวัตถุเคลื่อนตัวในซีกโลกใต้
การเบี่ยงเบนทิศทางการเคลื่อนตัวของวัตถุบนผิวโลกอันเป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองนี้จะ เรียกว่า Coriolis effect ซึ่งในทางทฤษฎีแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวในลักษณะดังกล่าวเรียกว่า coriolis force ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่บนผิวโลก (velocity of mass relative to earth’s surface), ความเร็วเชิงมุมของโลก (Angular velocity of earth) และค่า sine ของละติจูดซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ ที่ เส้นศูนย์สูตร และมีค่าเป็น 1 ที่ขั้วโลก
การเบี่ยงเบนทิศทางการเคลื่อนตัวของวัตถุบนผิวโลกอันเป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองนี้จะ เรียกว่า Coriolis effect ซึ่งในทางทฤษฎีแรงที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวในลักษณะดังกล่าวเรียกว่า coriolis force ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่บนผิวโลก (velocity of mass relative to earth’s surface), ความเร็วเชิงมุมของโลก (Angular velocity of earth) และค่า sine ของละติจูดซึ่งมีค่าเป็นศูนย์ ที่ เส้นศูนย์สูตร และมีค่าเป็น 1 ที่ขั้วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น