5. อัตราการตกตะกอน
การหาความหนาของชั้นตะกอนและอัตราการตกตะกอนจะนำไปสู่การทำนายอายุของแอ่งมหาสมุทรที่ตะกอนทับถมกันอยู่ได้ แต่เดิมเชื่อกันว่าตะกอนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 x 10-5 เซนติเมตร จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 100 ปีในการจมตัวลงสู่พื้นมหาสมุทรที่มีความลึก 3,000 เมตร ส่วนตะกอนที่มีขนาดเล็กกว่า 1 x 10-5 เซนติเมตร จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7,800-8,000 ปี แต่เมื่อพิจารณาในสภาพที่เป็นจริงจะพบว่าจะใช้เวลา 200-600 ปีเท่านั้น เหตุผลที่ใช้เวลาสั้นกว่าที่ประมาณ ไว้มากก็คือ ตะกอนจะมีคุณสมบัติดึงดูดกันเอง (cohesive) เพื่อจับตัวกันเป็นก้อนที่โตขึ้น (flocculation) เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้นมันจึงจมตัวลงสู่พื้นมหาสมุทรได้เร็วขึ้น บริเวณที่เป็นไหล่ทวีปการตกตะกอนจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว คือประมาณ 10-500 เซนติเมตรต่อเวลา 1,000 ปี โดยทั่วไปอัตราการตกตะกอนของมหาสมุทรโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตรต่อเวลา 1,000 ปี ความหนาของตะกอนที่สะสมอยู่บนพื้น มหาสมุทรจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละมหาสมุทร และต่างกันไปในแต่ละบริเวณแม้จะอยู่ในมหาสมุทรเดียวกัน บริเวณสันเขากลางมหาสมุทรจะมีตะกอนน้อย (ภาพที่ 4.4) และจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเมื่อห่างจากแนวสันเขาออกไป

ภาพที่ 4.4 บริเวณ  Mid- Atlantic Ridge จะเห็นตะกอนสะสมกันอยู่อย่างเบาบาง
ที่มา Garrison (2007)

ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะกอนที่อยู่บนพื้นมหาสมุทรจะเกาะกันอย่างหลวม ๆ มีความหนาเฉลี่ย 600 เมตร ส่วนมหาสมุทรแอตแลนติคตะกอนจะมีความหนาเฉลี่ย 500-1,000 เมตร (ภาพที่ 4.5) ยกเว้นบริเวณที่เป็นหุบเหวลึก (trench) เช่น Perto-Rico trench จะมีตะกอนที่สะสมอยู่มีความหนาประมาณ 9,000 เมตร โดยทั่วไปจะถือ ว่าตะกอนในมหาสมุทรจะเกาะกันอย่างหลวม ๆ จึงมีน้ำแทรกอยู่ระหว่างตะกอนในปริมาณมาก


ภาพที่ 4.5 ตะกอนที่สะสมอยู่บริเวณพื้นท้องทะเลใน tranquil continental rise มหาสมุทรแอตแลนติค ทางด้านตะวันตกของทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งเป็นบริเวณคลื่นลมสงบ มีความหนาของชั้นตะกอนประมาณ 200 เมตร
ที่มา Garrison (2007)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์