5.3 มหาสมุทรอินเดีย

5.3 มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดเล็กที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 74 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็น 20.6 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมดและ 14.5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ทางซีกโลกใต้ มีอาณาเขตดังนี้

 
ทิศเหนือ จดทวีปเอเซียและทวีปแอฟริกา
ทิศใต้ จดทวีปแอนตาร์คติกา
ทิศตะวันออก จดทวีปเอเซียทวีปออสเตรเลีย และลองติจูด 147 องศาตะวันออก
ทิศตะวันตก จดทวีปแอฟริกา และลองติจูด 20 องศาตะวันออก
เนื่องจากมหาสมุทรอินเดียมีทวีปใหญ่คือทวีปเอเซียและแอฟริกาอยู่ทางตอนบนจึงทำให้ลักษณะดินฟ้าอากาศบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรจนถึงละติจูด 25 องศาเหนือมีความแตกต่างกันมากในรอบปี โดยเฉพาะในทิศทางลมโดยจะมีลมมรสุม (monsoon) ประจำ 2 ฤดูในแต่ละปี มหาสมุทรอินเดียมีความลึกโดยเฉลี่ย 3,963 เมตร (12,999 ฟุต) มีแม่น้ำใหญ่ไหลลงทางตอนเหนือ ทะเลขอบมหาสมุทรที่สำคัญได้แก่ทะเลอันดามัน (Andaman Sea) และทะเลแดง (Red sea) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำบางแห่งที่แม้ว่าจะมองไม่เห็นทางติดต่อกับมหาสมุทรอย่างชัดเจน แต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร แต่ถูกแยกตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกเช่น ทะเลดำ (Black Sea) เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยช่องทางแคบ ๆ มีความกว้างประมาณ 700 เมตร และลึกประมาณ 40 เมตรซึ่งเป็นช่องทางที่ไม่อำนวยให้มีการแลกเปลี่ยนคุณสมบัติระหว่างแหล่งน้ำทั้งสองมากนัก และทะเลสาบแคสเปียน (Caspian Sea) ซึ่งเชื่อว่าเคยเป็นส่วนของมหาสมุทรที่แยกตัวในตอนหลัง และมีการแยกตัวในตอนหลังซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวเปลือกโลกและระดับน้ำของมหาสมุทร
เนื่องจากแอ่งมหาสมุทรมีการเชื่อมโยงติดต่อกันทั้งหมด ดังนั้นขบวนการใดก็ตามที่เกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของมหาสมุทรย่อมมีผลต่อไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ในที่สุด ตัวอย่างเช่น การที่ภูมิอากาศบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนมีลักษณะร้อนและแห้งแล้งจะทำให้น้ำระเหยได้ง่าย ทำให้น้ำบริเวณนี้มีความเค็มจัดจึงจมตัวลงและไหลออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกผ่านช่องแคบยิบรอลต้า (Gibralta Strait) ทางด้านล่างของมหาสมุทร ในขณะเดียวกันน้ำจากมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งมีความเค็มน้อยกว่าจะไหลเข้ามาที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านบน น้ำที่เค็มจัดจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะกระจายไปในมหาสมุทรแอตแลนติกผสมกับน้ำในมหาสมุทรจนกระทั่งไม่มีความแตกต่างระหว่างความเค็มของมวลน้ำทั้งสอง

ขบวนการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำในมหาสมุทรเกิดขึ้นช้ามาก โดยภาพรวมจึงมองว่ามหาสมุทรอยู่ในสภาพคงที่ (steady-state condition) จึงเป็นประโยชน์ที่ทำให้นักสมุทรศาสตร์สามารถใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้เมื่อเป็นร้อยปีก่อนกลับมาใช้ได้ เพื่อช่วยให้เข้าใจถึงขบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทรในปัจจุบัน ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นการยากที่จะเก็บข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ต่าง ๆ อย่างสอดคล้องในเวลาเดียวกันได้ (Synoptic oceanography) และเนื่องจากมหาสมุทรมีอายุอันยาวนานและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้าจนกว่ามวลน้ำทะเลจะผสมกันอย่างดี จากการศึกษาพบว่าน้ำที่อยู่ในระดับลึกจะเคลื่อนมาสู่ผิวหน้าน้ำได้ภายในเวลา 1,000-2,000 ปีซึ่งเมื่อเทียบกับอายุของมหาสมุทรซึ่งมีอายุหลายร้อยล้านปี เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ปริมาณเกลือในน้ำทะเลจะมีปริมาณใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็นน้ำจากส่วนใดของมหาสมุทรก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์