7. การเปลี่ยนทิศทางของคลื่น

7. การเปลี่ยนทิศทางของคลื่น
1.       การสะท้อน (wave reflection) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปปะทะ สิ่งกีดขวางที่สามารถสะท้อนคลื่นได้ ผลจากการปะทะทำให้อนุภาคของน้ำไม่สามารถ เคลื่อนที่เป็นวงได้จึงเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างของวัตถุที่ปะทะ โดยอนุภาคของน้ำจะเคลื่อนที่ขึ้นสูงเมื่อเคลื่อนที่เข้ามาที่วัตถุปะทะ และเคลื่อนที่ลงต่ำเมื่อเคลื่อนออกมาจากวัตถุที่ปะทะ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนตามบริเวณ ท่าเรือ อ่าวหรือสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นกว้าง
2.       การหักเห (wave refraction) เป็นการโค้งงอของคลื่นซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ความลึกของน้ำ ทำให้ดูเหมือนว่าคลื่นเคลื่อนที่เข้าหาฝั่งในลักษณะที่ขนานกับฝั่งเสมอ การหักเหของคลื่นใต้น้ำ อธิบายได้โดยใช้กฎของ Snail เช่นเดียวกับที่ใช้ในการหักเหของแสง คลื่นในมหาสมุทรสามารถเขียนเส้นที่ เรียกว่า orthogonal line ในทุกแห่งตั้งฉากกับยอดคลื่นได้ เพื่อบอกทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น มุมที่เกิดขึ้นระหว่าง orthogonal line และเส้นที่ลากตั้งฉาก กับเส้นแสดงความลึกเท่า (depth contour) โดยค่านี้จะมีความสัมพันธ์กับความแรงของคลื่น ที่ความลึกต่าง ๆ กัน

3.       การแยกโค้งของคลื่น (diffraction) เป็นปรากฏการณ์ของคลื่นซึ่งเป็นไปตาม Huygen’s law ซึ่ง กล่าวว่าแต่ละจุดบนยอดคลื่นทำตัวเหมือนจุดกำเนิดจุดหนึ่งสำหรับยอดคลื่น ใหม่ อื่น ๆ ได้โดยจะทำให้ เกิดการโค้งงอแยกออกไปเมื่อพบกับสิ่งกีดขวาง และจะต่างไปจาก การสะท้อน ของคลื่น โดยการแยกโค้ง ของคลื่นนี้จะแผ่ออกไปด้านข้างและก่อให้เกิดคลื่นใหม่ ที่แตกต่างไปจากคลื่นที่มากระทบวัตถุกีดขวาง โดยการแยกโค้งของคลื่นจะเป็นประโยชน์ อย่างมากในการสร้างกำแพงกันคลื่น เพราะจะทำให้ความสูงของคลื่นลดลงเนื่องจากคลื่น จะมีการแผ่กระจายออกไปด้านข้างทำให้หลังกำแพงกันคลื่น เป็นบริเวณที่สงบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์