7. ลมมรสุม
มรสุมหรือ monsoon เป็นรูปแบบการเคลื่อนไหลเวียนของลมซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล
(คำว่า monsoon มาจากคำในภาษาอารบิค mausim ซึ่งแปลว่าฤดูกาล) ลมมรสุมจะมี 2 ลักษณะคือ wet
summer และ dry winter
การเกิดของลมมรสุมจะมีความเกี่ยวข้องกับความแตกต่างของความจุความร้อน
(heat capacities) ระหว่างพื้นดินและน้ำทะเล และการเคลื่อนตัวของลมในเขต Doldrum ในรอบปี ในฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูร้อน
อุณหภูมิบริเวณพื้นดินจะสูงขึ้นเร็วกว่าในมหาสมุทรทำให้เกิดความกดอากาศต่ำบนพื้นดิน
อากาศชื้นและเย็นกว่าจากมหาสมุทรจะไหลเข้าไปแทนที่อากาศร้อนบริเวณพื้นดินที่ลอยตัวสูงขึ้น
เมื่อมีการสะสมของอากาศร้อนด้านบนมากขึ้นทำให้เกิดการควบแน่นทำให้เกิดเมฆและมีฝนตกในที่สุด
ส่วนในฤดูใบไม้ร่วงอากาศหรือฤดูหนาวบริเวณพื้นทวีปเย็นตัวเร็วกว่าน้ำในมหาสมุทร
อากาศเย็นและ แห้งบริเวณผิวหน้าพื้นทวีปก็จะเคลื่อนตัวไปยังมหาสมุทร
ซึ่งมีความกดอากาศต่ำกว่าทำให้เกิด การสะสมของความชื้นเช่นเดียวกับในกรณีแรก
ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกาตะวันออก จัดเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตามฤดูกาลอย่างทั่วถึง ซึ่งมีผลต่อการทำการเกษตรกรรมในบริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมากต่อการได้รับ อิทธิพลของลมมรสุมตามฤดูกาล ตัวอย่าง เช่น ในบริเวณที่เราอาศัยอยู่คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฤดูร้อนทวีปเอเชียจะมีความกดอากาศต่ำ จึงมีการเคลื่อนตัวของอากาศจากมหาสมุทรอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ทวีปลมมรสุมที่เข้ามาคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (southwest monsoon) ส่วนในช่วงฤดูหนาวตอนในของทวีปเอเชียมีอุณหภูมิต่ำหรือความกดอากาศสูง จึงมีการเคลื่อนตัวของมวลอากาศออกสู่มหาสมุทร นำเอาอากาศหนาวเย็นและแห้งเข้าสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเรียกว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (northeast monsoon) นั่นเอง (ภาพที่ 6.12)
ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกาตะวันออก จัดเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตามฤดูกาลอย่างทั่วถึง ซึ่งมีผลต่อการทำการเกษตรกรรมในบริเวณดังกล่าวเป็นอย่างมากต่อการได้รับ อิทธิพลของลมมรสุมตามฤดูกาล ตัวอย่าง เช่น ในบริเวณที่เราอาศัยอยู่คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฤดูร้อนทวีปเอเชียจะมีความกดอากาศต่ำ จึงมีการเคลื่อนตัวของอากาศจากมหาสมุทรอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าสู่ทวีปลมมรสุมที่เข้ามาคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (southwest monsoon) ส่วนในช่วงฤดูหนาวตอนในของทวีปเอเชียมีอุณหภูมิต่ำหรือความกดอากาศสูง จึงมีการเคลื่อนตัวของมวลอากาศออกสู่มหาสมุทร นำเอาอากาศหนาวเย็นและแห้งเข้าสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเรียกว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (northeast monsoon) นั่นเอง (ภาพที่ 6.12)
ภาพที่ 6.12 การเกิดลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (บน) และตะวันออกเฉียงเหนือ (ล่าง) ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา: Garrison (2007)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น