8.1 Water Masses


8.1 Water Masses
น้ำในมหาสมุทรนั้นจะมีการแบ่งชั้นแยกออกจากกันตามความหนาแน่น น้ำที่มีความหนาแน่นมากที่สุดก็จะอยู่บริเวณพื้นท้องทะเล ส่วนน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดก็จะอยู่ที่ใกล้กับผิวหน้าน้ำ  โดยมวลน้ำแต่ละส่วนนี้จะมีอุณหภูมิและความเค็มเฉพาะของมันเองในแต่ละชั้น ซึ่งจะสามารถจำแนกได้อย่างชัดเจนในเขตร้อนและเขตอบอุ่นเนื่องจากอุณหภูมิที่ผิวหน้าน้ำและส่วนที่ลึกลงไปมาก ๆ จะมีความแตกต่างกันสูง เนื่องจากมวลน้ำมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมันเอง ดังนั้นจึงไม่เกิดการผสมกับมวลน้ำอื่น ๆ ได้ง่ายนักเมื่อมาเจอกัน ส่วนใหญ่จะอยู่แยกชั้นกันโดยอาจจมตัวลงหรืออยู่เหนือมวลน้ำที่มาพบกัน ในการจำแนกชนิดของมวลน้ำนักสมุทรศาสตร์จะจำแนกตามตำแหน่งที่มันอยู่ โดยในเขตร้อนและเขตอบอุ่นจะสามารถจำแนกมวลน้ำได้ดังนี้
  • Surface water ตั้งแต่ผิวหน้าน้ำจนถึงความลึก 200 เมตร
  • Central water จนถึงส่วนล่างสุดของชั้น thermocline (ต่างกันไปตามละติจูด)
  • Intermediate water ถึงความลึกประมาณ 1,500 เมตร
  • Deep water ชั้นน้ำที่ต่ำลงไปจาก intermediate water แต่ยังไม่ติดต่อกับพื้นทะเล อาจถึงระดับความลึกประมาณ 4,000 เมตร
  • Bottom water ชั้นน้ำที่ติดต่อกับพื้นทะเล
ขอบเขตระหว่างมวลน้ำที่สามารถแตกได้อย่างเด่นชัดที่สุดคือช่วงต่อระหว่าง intermediate กับ central water การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับ surface เช่นการระเหย การเพิ่มหรือลดอุณหภูมิเป็นจุดกำเนิดของมวลน้ำในชั้นต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่นมวลน้ำที่มีมวลมากที่สุด(อยู่ในที่ลึกที่สุด) จะเริ่มสร้างตัวบริเวณชั้นของ surface water ที่มีอุณหภูมิและความเค็มมาก ๆ แล้วจึงจมตัวลงสู่พื้นทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์