2) หาดทราย (sandy beach)

2) หาดทราย (sandy beach) เป็นพื้นที่ชายฝั่งซึ่งได้รับอิทธิพลของปัจจัยทางกายภาพจากทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่ง หาดทรายเป็นที่สะสมของของเม็ดทรายที่เกิดจากการกัดเซาะชายฝั่งของคลื่น อิทธิพลของคลื่นยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของหาดซึ่งได้แก่ ความลาดชันของหาดที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่และตามฤดูกาลโดยเฉพาะในเขตอบอุ่น(Temperate Zone) มีการศึกษาพบว่าความลาดชันของหาดระหว่างฤดูหนาวและร้อนจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อิทธิพลของคลื่นยังมีผลต่อขนาด (Particle Size) ของเม็ดทราย โดยทรายละเอียดจะเกิดจากแรงกระทำของคลื่นที่มีความรุนแรงไม่มากแต่หากหาดทรายได้รับอิทธิพล จากคลื่นมีความรุนแรงมากเม็ดทรายก็จะมีความหยาบมาก ขนาดของเม็ดทรายนี้ยังถือเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการแพร่กระจายและความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่ ทั้งกลุ่มที่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายและกลุ่มที่อาศัยอยู่ที่ผิวหน้าทราย สำหรับกลุ่มที่ฝังตัวใต้พื้นทรายนั้น ทรายหยาบจะมีแรงเสียดสีกับตัวสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มากกว่าทรายละเอียดแต่ในขณะเดียวกันน้ำจะสามารถผ่านลงไปใต้พื้นทรายมากกว่า ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของหาดทรายคือ การเคลื่อนที่ของมวลน้ำบริเวณท้องทะเล (Substrate Movement) ซึ่งทำให้มีการนำพาเอาอนุภาคของทรายหรือหินกรวดต่างๆเข้ามาตกตะกอนทับถมในบริเวณหาดทราย นอกจากนี้น้ำขึ้นน้ำลงก็เป็นปัจจัยทางกายภาพที่กำหนดระยะเวลาที่สิ่งมีชีวิตจะจมอยู่ใต้น้ำหรือออกหาอาหาร ปัจจัยประการสุดท้ายคือ ความร้อนจากแสงอาทิตย์ โดยปัจจัยสองข้อหลังนี้ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นและอุณหภูมิของทรายตามระดับความลึกจากผิวหน้าโดยปกติอุณหภูมิที่ผิวหน้าทรายจะสูง แต่เมื่อลึกลงไปเพียงไม่กี่เซนติเมตรอุณหภูมิจะต่ำกว่าผิวหน้ามาก
สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณหาดทรายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อ
ระบบนิเวศในทะเล โดยสัตว์ทะเลหน้าดินหลายชนิดเป็นอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำต่าง ๆที่เข้ามา
หาอาหารในหาดทรายในช่วงน้ำขึ้น ชนิดและความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่
ที่อาศัยในหาดทรายสามารถบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของหาดทรายและมีความสัมพันธ์กับ
ปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจบางชนิดที่กินสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นอาหาร นอกจากนี้
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาชุมชนของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ยังสามารถใช้ระดับการเกิดมลพิษ
และคุณภาพน้ำทะเลของหาดทรายอีกด้วย

การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต ก็จะเป็นเช่นเดียวกับหาดหินเขตบริเวณแนวน้ำขึ้นสูงสุดขึ้นไปอาจมีป่าชายหาดซึ่งเป็นสังคมพืชทนเค็มทั้งพืชยืนต้นและพืชล้มลุก ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะพบสัตว์หน้าดินต่างๆฝังตัวอยู่ตามพื้นทราบเช่น ไส้เดือนทะเล ปูลม ปูทหาร ปูหนุมาณ หอยสองฝาหลายชนิด ถัดจากเขตน้ำลงต่ำสุดลงไปมักพบปลิงทะเล ปู ดาวทะเล เหรียญทะเล ดอกไม้ทะเล เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์