บทที่ 9 น้ำขึ้นน้ำลง

บทที่ 9 น้ำขึ้นน้ำลง
Chapter 9 : Tide
 หัวข้อภายในบทเรียน


ส่วนนำ
น้ำขึ้นน้ำลงเป็นการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาในช่วงสั้น ๆ ของระดับความสูงของผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดจากแรงสองแรงที่กระทำต่อโลกคือ (1) แรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่กระทำต่อโลก (gravitational force) และ (2) แรงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) อันเนื่องมาจากการหมุนของโลก ผลลัพธ์ของแรงดังกล่าวทำให้น้ำบนผิวหน้าน้ำในมหาสมุทรมีการเคลื่อนตัวในลักษณะของคลื่นที่มีความยาวคลื่นที่ยาวมาก คืออาจถึงครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงโลก น้ำขึ้นน้ำลงจึงจัดเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากที่สุด

ในสมัยโบราณมนุษย์ไม่มีความรู้เกี่ยวกับน้ำขึ้นน้ำลงมากนัก มีบันทึกในประวัติศาสตร์ของสงครามบางครั้ง เช่นการยกทัพเรือไปตีประเทศอังกฤษของ Julius Caecar และกองทัพภายใต้การนำของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่จะไปตีประเทศอินเดียทางปากแม่น้ำสินธุ ได้สูญเสียไพร่พลไปมากมายเนื่องจากขาดความรู้ในเรื่องดังกล่าว แต่อันที่จริงมนุษย์ได้เริ่มสังเกตถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเมื่อ 300 ปีก่อนคริสต์กาลนักเดินเรือและนักดาราศาสตร์ชาวกรีกชื่อ Pytheas เป็นคนแรกที่บันทึกความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างตำแหน่งของดวงจันทร์และความสูงของระดับน้ำขึ้นน้ำลง และเราเริ่มเข้าใจถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างแท้จริงเมื่อ Sir Issac Newton ได้สร้างทฤษฎีของแรงดึงดูดระหว่างมวลขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Kroobannok Education News

สนุก! คอมพิวเตอร์